หลักสูตรพุทธทาสศึกษา Buddhadasa Studies Curriculum

June 1, 2017 | Autor: Sumalai Ganwiboon | Categoria: Buddhist Studies, Buddhist Practice, Buddhadasa Bhikkhu, Buddhist studies and practice
Share Embed


Descrição do Produto

หลักสูตรพุทธทาสศึกษา Buddhadasa Studies Curriculum

ดร.สุมาลัย กาลวิบูลย์ บทคัดย่อ ท่านพุทธทาสภิกขุกล่าวว่าปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมนั้น ส่วนหนึ่งเนื่องมากจากการพัฒนาที่ มุ่งเน้นเฉพาะด้านวัตถุแต่ละเลยการพัฒนาด้านด้านจิตใจ ทั้ง ๆ ที่มนุษย์ประกอบด้วยสองส่วนคือกายและ จิต ซึ่งการพัฒนาแต่วัตถุเพียงด้านเดียวส่งผลให้มนุษย์ทวีความเห็นแก่ตัวมากขึ้นและมากขึ้น แม้กระทั่ง การศึกษาในปัจจุบันก็ยังมุ่งเน้นด้านวัตถุแต่เพียงด้านเดียวคือมุ่งการเรียนการสอนเพื่อการประกอบวิชาชีพ แต่ละเลยการสอนที่พัฒนาด้านจิตใจคือการพัฒนาด้านศีลธรรม ส่งผลให้สังคมเรามีคนเก่งที่ใช้ความรู้ ความสามารถของตนในการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น จนนำไปสู่ความเดือนร้อนขึ้นในสังคม ดังนั้นจึงมีความ จำเป็นต้องนำการสอนที่มุ่งเน้นการพัฒนาด้านจิตใจ โดยเฉพาะการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมให้กลับมาสู่ สังคมไทย จังหวัดสุราษฎร์ธานีเห็นความจำเป็นในการจัดทำหลักสูตรเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของผู้ เรียนโดยนำทรัพยากรบุคคลที่สำคัญของจังหวัดคือท่านพุทธทาสภิกขุมาเป็นบุคคลต้นแบบ ในฐานะที่ท่าน เป็นชาวสุราษฎร์ธานีแต่ได้รับการยอมรับให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกเนื่องจากคำสอนของท่านมุ่งเน้นให้ เกิดความสงบสุขในสังคม อีกทั้งท่านยังตีความธรรมะให้มีความเป็นวิทยาศาสตร์ในแง่ที่สามารถพิสูจน์ได้ คำสอนของท่านยังส่งเสริมให้นำธรรมะมาให้มาใช้ในชีวิตประจำวัน และท่านยังเป็นแบบอย่างของผู้ปฏิบัติ ธรรมที่เป็นต้นแบบที่ดีและแสดงให้เห็นถึงความสงบเย็นจากการปฏิบัติธรรมนั้นอีกด้วย โดยหลักสูตรพุทธ ทาสศึกษาจัดทำขึ้นสำหรับพัฒนานักเรียนชาวสุราษฎร์ธานีตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้เป็นทั้งคนเก่ง คนดี และเป็นคนที่มีความสุข Abstract The main cause of problems in our society according to Buddhadasa Bhikkhu is the development that aimed at material development. While, human being composes of 2 parts i.e., body (material), and mind. The development only on material leads human being to be more and more selfish. Moreover, education now a day also aims at the material development by teaching the students to earn their living, and neglect the spiritual development. This leads Thai society to have many talent scholars who used

]2 their talent to get advantage on others, and cause many problems in the society. Therefore, the moral indoctrination curriculum is an emergency to develop the spiritual of the students to be aware of the value of moral deeds and be talented citizen who cherished in doing good deeds and live their lives happily. The curriculum design for the students of Suratthani province who have the late Buddhadasa Bhikkhu as the best role ever person who leaded his life peacefully and happily as the result of his Dhamma practice. Buddhadasa Bhikkhu was born in Suratthani province, but well known globally. He interpreted the teaching of the Buddha to be more scientific, and can be used in daily life not only in the Dhamma hall. His teaching aims at the peaceful of the society. บทนำ การพัฒนาที่มุ่งเน้นแต่ทางวัตถุ และวัดความเจริญจากด้านวัตถุเพียงอย่างเดียว ย่อมจะนำมาซึ่ง ปัญหาในด้านต่าง ๆ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เนื่องจากมนุษย์ประกอบด้วยสองส่วนคือกายและ จิต การพัฒนาที่เน้นเฉพาะส่วนกายหรือส่วนวัตถุและละเลยในการพัฒนาจิตใจนั้นจะทำให้มนุษย์เกิด ความเห็นแก่ตัวมากขึ้น ซึ่งความเห็นแก่ตัวนี้เป็นต้นตอของปัญหาต่าง ๆ นั่นเอง ท่านพุทธทาสภิกขุได้ วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาทั้งปวงที่เรากำลังเผชิญอยู่ว่า “เป็นเพราะเราขาดศีลธรรม” การเมืองที่ขาดศีล ธรรมก็เดินหน้าไปไม่ได้ ปัญหาทางเศรษฐกิจเป็นปัญหาจากการขาดศีลธรรมระหว่างกัน ปัญหาสังคมก็เกิด จากการไม่แบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นปัญหาจากการขาดศีลธรรมเช่นเดิม ส่วนการศึกษาเมื่อ ได้แยกศีลธรรมออกจากการเรียนรู้การศึกษาจึงไม่ได้เป็นไปเพื่อความก้าวหน้าของสังคมโดยรวมอีกต่อไป การจัดการศึกษาจึงเป็นไปเพื่อการหารายได้ ความก้าวหน้าเศรษฐกิจ อำนาจ และการเอาตัวรอดเฉพาะ ตัวของฝ่ายต่าง ๆ ดังนั้นท่านพุทธทาสภิกขุจึงให้ความสำคัญในการพัฒนาจิตใจของมนุษย์โดยท่านมุ่งเน้น ที่การพัฒนาด้านศีลธรรมเป็นหลัก โดยมีคำกล่าวของท่านที่ติดหูเกี่ยวกับศีลธรรมอยู่หลายคำด้วยกัน เช่น ศีลธรรมไม่กลับมาโลกาจะวินาศ ศีลธรรมของยุวชนคือสันติภาพของโลก เป็นต้น ดังนั้นจังหวัดสุราษฎร์ธานีจึงได้จัดทำหลักสูตรสำหรับพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนใน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้ชื่อหลักสูตรพุทธทาสศึกษา เนื่องจากท่านพุทธทาสเป็นทรัพยากรบุคคลที่ สำคัญของจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่ได้รับการยอมรับระดับโลก คำสอนของท่านเข้ากับยุคสมัย ใช้ได้ในชีวิต ประจำวัน และนำมาแก้ปัญหาชีวิตและสังคมได้ อีกทั้งคำสอนของท่านพุทธทาสยังมุ่งเน้นมาที่ยุวชน จะ เห็นได้จากการที่ท่านให้ความสำคัญกับการศึกษาของเยาวชนดังที่ท่านเปรียบการศึกษาในปัจจุบันว่า เป็นการศึกษาแบบหมาหางด้วน หรือการศึกษาที่ขาดการสอนด้านคุณธรรมจริยธรรมตามแบบตะวันตก นั่นเอง

]3 คำที่ท่านพุทธทาสใช้สำหรับการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนั้นส่วนใหญ่ท่านจะใช้คำว่า “ศีลธรรม” ท่านพุทธทาสภิกขุกล่าวว่าในภาษาบาลีนั้น คำว่า “สี-ละ” แปลว่าปกติ คำว่าปกติ จึงหมายถึงการที่มนุษย์ ทำหน้าที่ของตนเองให้เกิดสันติภาพทั้งส่วนตัวและสังคม เมื่อสังคมไม่มีสันติภาพ หรือมีการเบียดเบียน ระหว่างกัน จึงเท่ากับว่าเราทำหน้าที่ของมนุษย์กันอย่างผิดปกติ แต่ในสังคมกลับเห็นว่าการเอาเปรียบกัน เป็นเรื่องปกติของผู้ที่แข็งแรงกว่า มีอำนาจมากกว่า การละทิ้งหน้าที่ทางศีลธรรมจึงทำให้ทุกส่วนของสังคม ผิดปกติไปหมด การแก้ไขปัญหาทั้งปวงจึงต้องกลับไปแก้ที่รากฐานของปัญหา คือ ทำให้ศีลธรรมกลับมาทำ หน้าที่อย่างเข้มข้นอีกครั้งหนึ่ง ท่านพุทธทาสกล่าวถึงปัญหาของการขาดศีลธรรมไว้ดังต่อไปนี้ “เดี๋ยวนี้ปัญหามันก็มีมากขึ้นทุกทีในโลกนี้ นักเรียนก็ขาดศีลธรรม แล้วกันก็เป็นอย่างไรบ้าง ครูบาอาจารย์ก็ขาดศีลธรรม มันจะเป็น อย่างไรบ้าง ผู้ปกครองเป็นลำดับชั้นขึ้นไปก็ขาดศีลธรรม พ่อค้าก็ขาด ศีลธรรม คนซื้อก็ขาดศีลธรรม กระทั่งว่าทนายความขาดศีลธรรม ตำรวจขาดศีลธรรม ผู้พิพากษาขาดศีลธรรม กระทั่งผู้ปกครองบ้าน เมืองขาดศีลธรรม นี่มันจะเป็นอย่างไร การที่มีอะไรไม่ปกติไม่เป็นไปอย่างราบรื่นนี้ ก็กล่าวได้ว่าขาด ศีลธรรมทั้งนั้น แต่เขาก็ไปโทษกันว่าเพราะแก้ปัญหานั้นแก้ปัญหานี้ แก้ปัญหาโน้น มันไม่ถูกต้อง เขาไปโทษเรื่องเศรษฐกิจบ้าง เรื่อง การเมืองบ้าง เรื่องอะไรบ้าง ก็หลับตาแก้แต่ปลายเหตุกันไปเท่านั้น โดยไม่มองว่าต้นเหตุอันแท้จริงเป็นเพราะขาดศีลธรรม”1 ดังนั้นหลักสูตรพุทธทาสศึกษาจึงเป็นหลักสูตรที่นำเอาคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุที่เป็นทุน ทางสังคมในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี รวมถึงวิธีสอนศีลธรรมและศาสนาที่มีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับ กันโดยทั่วไปทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติมาใช้ในการพัฒนาศีลธรรมในโรงเรียน จึงเป็นการปฏิรูป การเรียนรู้ โดยมีเป้าหมายที่จะให้การเรียนรู้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของการสร้างสันติภาพแก่สังคมมากกว่า การเรียนรู้เพื่อเอาตัวรอดโดยลำพัง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาด้านต่าง ๆ โดยจะปรับการเรียนรู้ ทางศีลธรรมให้เหมาะสมกับช่วงวัยที่แตกต่างกัน และจะขยายผลไปยังส่วนอื่น ๆ ของสังคมต่อไป นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นให้เป็นหลักสูตรที่สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้เรียนในการเป็นคนดีและมีความสุข สร้าง เยาวชนให้เป็นคนดีสมกับชื่อของจังหวัดสุราษฎร์ธานีเมืองแห่งคนดี

1

พุทธทาสภิกขุ. (2548). ธัมมิกสังคมนิยม. สุขภาพใจ: กรุงเทพฯ หน้า 179

]4 เป้าหมายของหลักสูตรพุทธทาสศึกษา เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถคิดวิเคราะห์จนตระหนักและเห็นคุณค่า ของศีลธรรมตามแนวคิดของท่านพุทธทาส จนสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ กรอบแนวคิดของหลักสูตร หลักสูตรมุงเน้นให้เกิดความสำนึกที่ว่า “ธรรมะคือหน้าที่” ซึ่งคำว่าหน้าที่ในที่นี้มุ่งเน้นเฉพาะ หน้าที่ที่ถูกต้องและมีประโยชน์ โดยขยายความเป็น 3 ระดับ คือ 1) หน้าที่ต่อตนเอง 2) หน้าที่ต่อผู้อื่น และ 3) หน้าที่ต่อสังคม ซึ่งเชื่อมโยงกับคำสอนหลักของท่านอาจารย์พุทธทาสที่ท่านใช้และเน้นในการสอน เยาวชน คือ เรื่อง 5 ดี กล่าว คือ เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เป็นศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์ เป็นเพื่อนที่ดีของเพื่อน เป็นพลเมืองที่ดีของชาติ เป็นสาวกที่ดีของศาสดา และเมื่อมีครบทั้ง 5 ดี ก็จะเป็นเป็นมนุษย์ที่เต็ม คำอธิบายหลักสูตร ให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ คิดวิเคราะห์ ตระหนัก และเห็นคุณค่าเรื่องศีลธรรมตามแนวคิด ของท่านพุทธทาส ตลอดจนสามารถปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ กิจกรรมในการจัดทำหลักสูตร คณะกรรมการจึงได้กำหนดกิจกรรมในการจัดทำหลักสูตรพุทธทาสศึกษาไว้ดังนี้ จัดทำหลักสูตรพุทธทาสศึกษา จัดทำหนังสืออ่านประกอบการสอนหลักสูตรพุทธทาสศึกษา จัดทำคู่มือครู วิพากษ์หลักสูตร อบรมครูผู้สอน ทดลองใช้หลักสูตรในโรงเรียนนำร่อง 14 โรงเรียน คือ โรงเรียนพุทธนิคม โรงเรียนมัธยมพุทธนิคม โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ๑ (ดอนสักผดุงวิทย์) โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ๒ (บ้านดอนเกลี้ยง) โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ๓ (บ้านนา) โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ โรงเรียนบ้านพรุยายชี โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยสุราษฎร์ธานี

]5 โรงเรียนบ้านหัวหมากบน โรงเรียนบ้านแม่โมกข์ โรงเรียนบ้านควนสูง โรงเรียนวัดสามพัน โรงเรียนบ้านห้วยตาหมิง และ โรงเรียนวัดธารน้ำไหล นิเทศน์ครูผู้สอน วิจัยการใช้หลักสูตร จัดประชุมผู้เกี่ยวข้องในการใช้หลักสูตรเพื่อการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรหลังการทดลองใช้ หลักสูตรพุทธทาสศึกษา หลักสูตรพุทธทาสศึกษาจัดทำขึ้นสำหรับการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยกำหนดให้หลักสูตรสามารถนำไปใช้ใน 3 ลักษณะ คือ จัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม หรือ บูรณาการกับ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือจัดเป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยมีวิสัยทัศน์ หลักการ จุดหมาย การกำหนดคุณภาพของผู้เรียน การจัดการเรียนการสอน และ การวัดและการประเมินผล ดังนี้ วิสัยทัศน์ ยุวชนมีศีลธรรม เป็นฐานในการพัฒนาตนเองและสังคมที่มีคุณภาพ หลักการ นำคำสอนของท่านพุทธทาสมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ จุดหมาย 1. เพื่อพัฒนายุวชนให้มีศีลธรรมตามคำสอนของท่านพุทธทาส 2. เพื่อให้ยวุ ชนสามารถนำคำสอนของท่านพุทธทาสมาพัฒนาตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ 3. เพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข คุณภาพผู้เรียน 1. รู้ เข้าใจประวัติ คำสอนที่สำคัญและผลงานของท่านพุทธทาส 2. มีความรู้เข้าใจ ตีความ และเห็นความสำคัญของศีลธรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน 3. สามารถปฏิบัติหน้าที่ทางศีลธรรมในกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ 4. สามารถถ่ายทอดสาระสำคัญของศีลธรรมแก่ผู้อื่นและสังคมได้ 5. สามารถประเมินผลทางศีลธรรมของตนเองและสังคมได้ 6. สามารถบูรณาการหน้าที่ทางศีลธรรมกับวิชาอื่นๆ ได้

]6 การเรียนการสอน สอนให้เกิดศีลธรรมตามคำสอนของท่านพุทธทาส ในทุกๆ กิจกรรมของชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ ที่บ้าน ที่โรงเรียนและสังคม โดยยกประเด็นจากการใช้ชีวิตประจำวันมาแสดงความคิดเห็น วิเคราะห์ บทบาทหน้าที่ทางศีลธรรม รวมถึงการวิเคราะห์บูรณาการศีลธรรม ในการเรียนรายวิชาพื้นฐาน และหรือ รายวิชาเพิ่มเติม และหรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การวัดผลประเมินผล 1. 2. 3. 4.

ผู้เรียนสามารถประเมินผลด้วยตนเอง ประเมินโดยผู้สอนในด้านความรู้ สังเกตพฤติกรรม ประเมินจากกิจกรรมที่กำหนดขึ้น ประเมินโดยผู้ปกครองและคนใกล้ชิด สังเกตพฤติกรรม ประเมินจากสภาพการเปลี่ยนแปลงในสังคม ในโรงเรียนโดยรวม โดยการสังเกต

สาระการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระที่ ๑ สาระที่ ๒ สาระที่ ๓ สาระที่ ๔ สาระที่ ๕

ประวัติและผลงานของท่านพุทธทาส ศีลธรรมในชีวิตประจำวัน ไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) คำสอนสำคัญ คำสอนเรื่อง ๕ ดี

โดยมีรายละเอียดดังนี้ สาระที่ 1 มาตรฐาน

ประวัติและผลงานของท่านพุทธทาส รู้ เข้าใจ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และตีความ ประวัติผลงานของท่านพุทธทาสโดยพิจารณา เชื่อมโยงกับบริบทชุมชนและสังคม

ตัวชี้วัด ชั้น

ตัวชี้วัด

ป.๑-๓

รู้ เข้าใจ และแสดงความคิดเห็น ประวัติท่านพุทธทาสในวัยเด็ก การอบรมเลี้ยงดู การช่วย เหลือครอบครัว และบริบททางสังคม

ป.๔-๖

รู้ เข้าใจ และแสดงความคิดเห็น ประวัติท่านพุทธทาสเกี่ยวกับลักษณะอุปนิสัย การเรียนรู้ บริบททางสังคม การเริ่มต้นศึกษาพุทธศาสนา และการก่อตั้งสวนโมกขพลาราม

ม.๑-๓

วิเคราะห์ สังเคราะห์ และตีความ ประวัติ หลักธรรมสำคัญ วิธีเผยแผ่หลักธรรม และปณิธาน ๓ ประการ

]7

ม.๔-๖

สาระที่ 2 มาตรฐาน

วิเคราะห์ สังเคราะห์ และตีความประวัติผลงานของท่านพุทธทาส และนำมาแก้ปัญหาของ ตนเองและสังคม ศีลธรรมในชีวิตประจำวัน รู้ เข้าใจ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ ความหมาย และความสำคัญของศีลธรรม นำไป ประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตของตนเอง และการอยู่ร่วมกันในสังคม

ตัวชี้วัด ชั้น

ตัวชี้วัด

ป.๑-๓

รู้ เข้าใจ และแสดงความคิดเห็น ความหมาย และความสำคัญของศีลธรรมที่เกี่ยวกับ การอุปโภคบริโภค การพึ่งตนเอง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

ป.๔-๖

รู้ เข้าใจ และแสดงความคิดเห็น ความหมาย และความสำคัญของศีลธรรมที่เกี่ยวกับ ครอบครัว สังคม สิ่งแวดล้อม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

ม.๑-๓

วิเคราะห์ สังเคราะห์ และตีความ ความหมาย และความสำคัญของศีลธรรมที่เกี่ยวข้อง กับการศึกษา เศรษฐกิจ การเมืองสิ่งแวดล้อม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำ วันได้

ม.๔-๖

วิเคราะห์ สังเคราะห์และตีความ ความหมาย และความสำคัญของศีลธรรมที่เกี่ยวข้อง กับการแก้ปัญหาสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การเมือง สิ่งแวดล้อม สามารถนำไป ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

สาระที่ 3 มาตรฐาน

ไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) รู้ เข้าใจ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ ศีล สมาธิ ปัญญา และสามารถเชื่อมโยงกับการแก้ ปัญหาในมิติต่าง ๆ ได้

ตัวชี้วัด ชั้น

ตัวชี้วัด

ป.๑-๓

รู้ เข้าใจ และแสดงความคิดเห็น ความหมาย และความสำคัญของ ศีล สมาธิ ปัญญา และ สามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้

ป.๔-๖

รู้ เข้าใจ และแสดงความคิดเห็นความหมาย ความสำคัญ และการเชื่อมโยงของ ศีล สมาธิ ปัญญา และสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้

ม.๑-๓

วิเคราะห์ สังเคราะห์ และตีความ การเชื่อมโยงของศีล สมาธิ ปัญญา กับการแก้ปัญหา ตนเอง ครอบครัว สังคม สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

]8

ม.๔-๖

วิเคราะห์ สังเคราะห์และตีความ การใช้ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อแก้ปัญหาทางการศึกษา เศรษฐกิจ การเมือง และสิ่งแวดล้อม โดยแสดงให้เห็นความเชื่อมโยงของระบบต่าง ๆ ใน สังคม

สาระที่ ๔ มาตรฐาน

คำสอนสำคัญ รู้ เข้าใจ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และตีความคำสอนที่สำคัญของท่านพุทธทาส สามารถ ถ่ายทอดและนำ มาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัด ป.1-ป.3

รู้ เข้าใจ ตระหนัก บอกความหมาย และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำสอนเรื่อง คนดี สำคัญกว่าทุกสิ่ง ศีลธรรมของยุวชนคือสันติภาพของโลก และธรรมะคือหน้าที่

ป.4-ป.6

รู้ เข้าใจ ตระหนัก บอกความหมาย และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำสอนเรื่อง ศีลธรรม ไม่กลับมาโลกาวินาศ มองแต่แง่ดีเถิด และเป็นมนุษย์เป็นได้เพราะใจสูง

ม.1-ม.3

วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ ตระหนัก บอกความหมาย สามารถถ่ายทอดคำสอนเรื่อง การทำงานคือการปฏิบัติธรรม การศึกษาแบบหมาหางด้วน ธรรมะคือธรรมชาติ กิน-กามเกียรติ คนทุกคนในโลกคือคน ๆ เดียวกัน ศาสนาทุกศาสนาคือศาสนาเดียวกัน และ การเมืองเป็นหน้าที่ของทุกคน สามารถนำไปแก้ปัญหาตนเอง และครอบครัว

ม.4 - ม.6 วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ ตระหนัก บอกความหมาย สามารถถ่ายทอดคำสอนเรื่อง ตัวกู-ของกู ตายก่อนตายคือปริญญาสวนโมกข์ นิพพานอยู่ในวัฏสงสาร เช่นนั้นเอง โลกนี้ มีแต่ความว่าง และสะอาด-สว่าง-สงบ สามารถนำไปแก้ปัญหาตนเอง ครอบครัว ผู้อื่น และสังคม สาระที่ ๕ คำสอนเรื่อง ๕ ดี มาตรฐาน รู้ เข้าใจ แสดงความคิดเห็น วิเคราะห์ สังเคราะห์ตคี วาม ตระหนัก และปฏิบตั ติ นเกี่ยวกับคำ สอนเรื่อง ๕ ดี คือ เป็นลูกที่ดี ศิษย์ท่ดี ี เพื่อนที่ดี พลเมืองที่ดี ศาสนิกที่ดี เพื่อเป็นมนุษย์ท่เี ต็ม และสามารถ นำไปใช้ในแก้ปญ ั หาตนเอง และส่วนรวม ตัวชี้วัด ชั้น

ตัวชี้วัด

ป.๑-๓

รู้ เข้าใจ แสดงความคิดเห็น ความหมาย บทบาท หน้าที่ และปฏิบัติตนเป็นลูกที่ดี ศิษย์ที่ดี และเพื่อนที่ดี

ป.๔-๖

รู้ เข้าใจ แสดงความคิดเห็น หน้าที่ และปฏิบัติตนเป็นลูกที่ดี ศิษย์ที่ดี เพื่อนที่ดี พลเมืองที่ดี และศาสนิกที่ดี

]9

ม.๑-๓

วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ ตระหนัก และปฏิบัติตนเป็นลูกที่ดี ศิษย์ที่ดี เพื่อนที่ดี พลเมืองที่ดี ศาสนิกที่ดี เพื่อให้เป็นมนุษย์ที่เต็ม สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาตนเอง ครอบครัว และผู้อื่นได้

ม.๔-๖

วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ ตระหนัก และปฏิบัติตนเป็นลูกที่ดี ศิษย์ที่ดี เพื่อนที่ดี พลเมืองที่ดี ศาสนิกที่ดี เพื่อให้เป็นมนุษย์ที่เต็ม สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อมได้

หนังสืออ่านประกอบการเรียนการสอน คณะผู้จัดทำหลักสูตรฯ มีความเห็นร่วมกันว่า การเร่ิมต้นการสอนหลักสูตรพุทธทาสศึกษา สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยได้ศึกษางานของท่านพุทธทาสนั้นเป็นเรื่องที่ยาก ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงได้มีมติให้จัดทำ หนังสืออ่านประกอบการสอนหลักสูตรพุทธทาสศึกษาเพื่อเป็นจุดเร่ิมต้นให้กับครูผู้สอนให้ได้ทำความเข้าใจ กับเนื้อหาที่จะสอนในเบื้องต้น และสามารถนำความรู้จากหนังสืออ่านประกอบการสอนไปต่อยอดด้วยการ อ่านหนังสือของท่านพุทธทาสต่อไป หนังสืออ่านประกอบการสอนมีเนื้อหาทั้งสิ้น 8 บท ดังนี้ ประวัติและผลงาน ทัศนะทางศีลธรรม ศีลแห่งความเป็นมนุษย์ ไตรสิกขา ศีลธรรมกับการศึกษา ศีลธรรมในชีวิตประจำวัน ปณิธาน 3 คำสอนของท่านพุทธทาส คู่มือครู คู่มื อ ครู จั ด ทำขึ้น เป็ น สองส่ ว นคื อ ในส่ ว นของภาพรวมจั ด ทำขึ้น เพื่อ เป็ น ตั ว อย่ า งในการจั ด กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนรู้ รวมถึงการวัดและการประเมินผล และในส่วนของการลงราย ละเอียด มีการจัดทำตารางวิเคราะห์โครงสร้างหน่วยการเรียนรู้ทั้ง 5 สาระ และตัวอย่างหน่วยการเรียนรู้ ทั้งแบ่งเป็นระดับชั้น และโดยภาพรวม วิพากษ์หลักสูตร เพื่อให้การจัดทำหลักสูตรเป็นที่ยอมรับและมีมาตรฐาน จึงได้กำหนดให้มีการวิพากษ์หลักสูตร ในวันที่ 1 เมษายน 2559 ณ บริเวณลานหินโค้ง วัดธารน้ำไหล สวนโมกขพลาราม โดยได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิ คือ พระภาวนาโพธิคุณ นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัด

]10 สุราษฎร์ธานี ศึกษานิเทศน์ ครูผู้สอน ผู้เกี่ยวข้อง และผู้สนใจ โดยมีเอกสารที่จัดส่งให้แก่ผู้เข้าร่วมวิพากษ์ ได้พิจารณาก่อนการวิพากษ์ ดังนี้ 1) ร่างหลักสูตร 2) ร่างคู่มือครู และ 3) ร่างเอกสารประกอบการสอน สำหรับการวิพากษ์หลักสูตรที่ร่างมานั้น ผู้วิพากษ์มองว่า เนื้อหาของชั้นประถม 1 ถึงประถม 3 นั้นยากเกินไปไม่เหมาะสมกับเด็กเล็ก เห็นด้วยกับการนำคำสอน 5 ดี มาใช้ในหลักสูตร และควรขยาย เนื้อหาให้กว้างขึ้นโดยให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าและพุทธทาสท่านอื่นๆ และควรเน้นสาระเพื่อการ ปรับใช้ในชีวิตมากกว่าเนื้อหาความรู้ ร่างคู่มือครู เนื้อหาศีลธรรมและไตรสิกขายังมีความหลากหลายเกินไป ควรตัดภาพประกอบที่ ไม่เหมาะสมออก และปรับปรุงเนื้อหาให้ถูกต้อง ร่างเอกสารประกอบการสอน ควรเขียนประวัติของท่านพุทธทาสให้สมบูรณ์กว่านี้ และควรเพ่ิม เติมเนื้อหาในส่วนของสวนโมกข์นานาชาติ ควรคัดเลือกเอกสาร หนังสือ สื่อธรรม จากต้นฉบับของท่าน พุทธทาสมาใช้ในการเรียนการสอน และครูผู้สอนเห็นว่าเอกสารประกอบการสอนช่วยให้ครูเข้าใจเนื้อหาได้ สะดวกยิ่งขึ้น โดยรวมแล้วผู้เข้าร่วมการวิพากษ์หลักสูตรเห็นด้วยกับเนื้อหาในหลักสูตรโดยเฉพาะคำสอนเรื่อง 5 ดี แต่มีความกังวลกับการจัดการเรียนการสอนและผู้สอน โดยมองว่าผู้สอนจำเป็นต้องมีความเข้าใจใน เนื้อหาที่สอน เป็นแบบอย่างของผู้มีศีลธรรมให้แก่ผู้เรียน และต้องสามารถถ่ายทอดไปสู่ผู้เรียนให้สามารถ นำไปใช้ได้จริง โดยที่ไม่ใช่การนำไปท่องจำเพื่อสอบผ่าน ควรมีการตั้งคำถามให้นักเรียนได้คิดแล้วจึงดึงคำ สอนของท่านพุทธทาสมาสอนและชื่นชมนักเรียนที่ทำความดี ให้นักเรียนได้เรียนจากสถานที่จริง เช่น ที่ พุมเรียง สวนโมกขพลาราม ในการเรียนการสอนควรมีกิจกรรมการเจริญสมาธิ โดยควรให้นักเรียนฝึกนั่ง สมาธิอย่างน้อยวันละ 15 นาที ควรเลือกหนังสือของท่านพุ ทธทาสเล่มที่อ่านง่าย ๆ มาใช้ในการเรียนการ สอน ดังนั้นจึงควรมีการอบรมและพัฒนาครูผู้สอนก่อนจะนำหลักสูตรไปใช้ นอกจากนี้ผู้วิพากษ์บางท่าน มองว่าควรเน้นกระบวนการมากกว่าผลลัพธ์ ควรเพ่ิมกิจกรรมมากกว่าการอ่าน หรือบททดสอบ เช่น ให้ นักเรียนสามารถแยกแยะคนดีคนชั่วในโรงเรียนได้ ทั้งนี้หลักสูตรอาจจะยังไม่ดีที่สุด แต่เมื่อมีกระบวนการ ตั้งแต่การวิพากษ์ นำไปสู่การปรับปรุงแก้ไข จะนำไปสู่หลักสูตรที่ดีขึ้นไปเรื่อย ๆ ทั้งนี้ทางโรงเรียนนำร่อง ในการใช้หลักสูตรพุทธทาสศึกษามองว่าการนำหลักสูตรไปใช้นั้นควรเปิดโอกาสให้กับทางโรงเรียนในการบู รณาการหลักสูตรให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละโรงเรียน เพราะแต่ละโรงเรียนมีบริบทที่แตกต่างกัน ไม่ ควรจำกัดรูปแบบหรือแนวทางในการนำหลักสูตรไปใช้ นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมวิพากษ์ยังให้กำลังใจกับคณะทำงานให้ตั้งใจทำ ค่อยเดินทีละก้าวจะถึงจุด หมายในที่สุด และควรเร่ิมต้นการใช้หลักสูตรไปก่อนแล้วจึงค่อย ๆ ปรับแก้ไขดีกว่าติกันไปมาแต่ไม่ได้เร่ิม ต้นเสียที และควรตั้งเป้าหมายของหลักสูตรว่าเป็นหลักสูตรที่นำมาใช้เพื่ออบรมลูกหลานของเราให้เป็นคน ดีมีศีลธรรม

]11 นอกจากนี้ทางหอจดหมายเหตุพุทธทาสอินทปัญโญ จะดำเนินการจัดหาหนังสือที่มีเนื้อหา สอดคล้องกับหลักสูตรพุทธทาสศึกษาพร้อมชั้นวางมอบให้แก่โรงเรียนนำร่องทั้ง 14 โรงเรียน เพื่อให้ครู และนักเรียนได้ศึกษาหลักธรรมคำสอนของท่าน ทั้งนี้คณะผู้จัดทำมีความเห็นว่าในเอกสารร่างทั้งสามนี้ควรแก้ไขในส่วนที่มีความผิดพลาดให้ถูก ต้อง รวมถึงการตัดเนื้อหา ข้อความ ภาพที่ไม่เหมาะสมออก แต่แนวคิดโดยรวมยังคงไว้ เพื่อให้หลักสูตรได้ ทัันใช้ในปีการศึกษา 2559 หลังจากทดลองใช้หลักสูตรใน 1 ปีการศึกษาแล้ว จึงควรจัดประชุมทั้งผู้ใช้และ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มาร่วมการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาร่วมกันปรับปรุงแก้ไข เพื่อ ให้หลักสูตรพุทธทาสได้ปรับปรุงให้ถูกต้องเหมาะสมและใช้ในการเรียนการสอนเพื่อเพ่ิมคุณธรรมจริยธรรม ให้แก่ผู้เรียนได้อย่างแท้จริง อบรมครูผู้สอน เมื่อครูผู้สอนเป็นส่วนสำคัญในปัจจัยสู่ความสำเร็จของหลักสูตร จึงมีความจำเป็นต้องเข้าใจไม่ เฉพาะเนื้อหาที่สอนแต่จำเป็นต้องเข้าใจบริบทโดยรวม รวมถึงแนวคิดหลัก ๆ ในคำสอนของท่านพุทธทาส จึงมีความจำเป็นต้องจัดอบรมครูผู้สอน โดยได้เชิญ รองศาสตราจารย์โสรีช์ โพธิ์แก้ว และคณะมาเป็น วิทยากร โดยกำหนดจัดการอบรมที่วัดธารน้ำไหล สวนโมกขพลาราม ในวันที่ 9-11 พฤษภาคม 2559 ใน การนี้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ทั้งจากการอบรม และจากการได้เรียนรู้จากสถานที่จริง พร้อมทั้งได้ เรียนรู้วิถีสวนโมกข์ที่เรียบง่่ายใกล้ชิดธรรมชาติ รองศาสตราจารย์โสรีช์ ได้ใช้แนวทางในการอบรมด้วยการพูดคุยแลกเปลี่ยน (Dialogue) กับผู้ เข้าร่วมอบรมเป็นหลัก ในด้านการเรียนการสอนรองศาสตราจารย์โสรีช์กล่าวว่าการสอนคือความสัมพันธ์ ระหว่างครูกับลูกศิษย์ที่จำเป็นต้องเน้นให้ผู้สอนทำความเข้าใจผู้เรียนให้ไปด้วยกัน ที่เรียกว่า “สมานัตต ตา” ซึ่งมาจาก “สมาน” และ “อัตตา” หมายถึงภาวะของการเอาตนเองเข้าเชื่อมกับผู้อื่น หรือส่ิงอื่น เปรียบเหมือนกับการเดินไปพร้อมกัน โดยไม่ชี้นำ หรือตามหลังผู้เรียน ควรให้ความสำคัญกับผู้เรียนที่เรียน ไม่ดีซึ่งอาจเกิดจากปมหรือปัญหาบางอย่าง และการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ควรเน้นการเรียนการ สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งหมายถึงการเรียนการสอนที่ผู้สอนไม่ได้ให้ความรู้เป็นหลัก แต่เป็นผู้สร้าง กระบวนการเรียนรู้ให้เกิดแก่ผู้เรียน เมื่อนักเรียนพร้อมที่จะเรียน ทุกอย่างล้วนเป็นครู นอกจากนี้รองศาสตราจารย์โสรีช์ยังสอนให้เข้าใจชีวิต ให้มีความอ่อนน้อมเพราะความแข็ง กระด้างเป็นตัวแทนของความตาย ด้วยคำสอนที่ว่า “ทารกเมื่อแรกเกิดมีร่างกายอ่อนนิ่ม แต่แข็งกระด้าง เมื่อตาย ใบไม้เมื่อแรกผลิจะมีความนิ่ม ใบไม้ที่ตายจะแห้งและแข็ง ดังนั้นความน่ิมเป็นตัวแทนของชีวิต และความแข็งกระด้างเป็นตัวแทนของความตาย” และการทำความเข้าใจกับองค์ประกอบของชีวิตที่ ประกอบด้วยธาตุ 4 อากาศธาตุ และวิญญาณ โดยธาตุ 4 ประกอบด้วย ดินหรือสภาวะที่กินเนื้อที่ น้ำหรือ

]12 สภาวะที่เกาะกุม ลมหรือสภาวะที่เคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลง ระเหิด ระเหย และไฟหรือสภาวะที่มีความ ร้อน ซึ่งธาตุทั้ง 4 นี้เป็นภาวะที่มีอยู่ในทุกส่ิง ส่วนด้านคำสอนของท่านพุทธทาสนั้นรองศาสตราจารย์โสรีช์ได้ชวนคุยให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ของส่ิงต่าง ๆ ซึ่งล้วนสัมพันธ์กัน ไม่มีอะไรที่ไม่เกี่ยวข้องกัน ดังคำกล่าวของท่านพุทธทาสที่ว่า “คนทุกคน บนโลกคือคนคนเดียวกัน” เนื่องจากทุกคนบนโลกล้วนมีโจทย์เดียวกันคือความทุกข์ เป้าหมายของคำสอน ในพุทธศาสนาคือการดับทุกข์ ซึ่งท่านพุทธทาสมักกล่าวว่า “ดับทุกข์ได้ก็ถูก ดับทุกข์ไม่ได้ก็ไม่ถูก” ซึ่ง สาเหตุแห่งทุกข์นั้นคือความคาดหวัง ซึ่งคือ “อุปาทาน” หรือการยึดมั่นถือมั่น ซึ่งการยึดมั่นกับความเชื่อ เป็นการขังตัวเอง และส่ิงที่ทำให้เราดับทุกข์ไม่ได้นั้นคือ “อวิชชา” ซึ่งอวิชชาคือการถู กขังอยู่ในความรู้และ ความเชื่อ เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ทุกอย่างในโลกล้วนมีเวลาของมัน อิทัปปัจจยตาพามาพบและ พรากจากไปเช่นกัน ธรรมะคือความจริง ธรรมชาติคือความจริงที่เกิดขึ้นจริง ๆ ส่วนธรรมะคือหน้าที่ หมายถึง ทำ อะไรต้องทำให้ดีที่สุด และธรรมชาติที่ต่างกันย่อมต้องการต่างกัน ดังนั้นการดำรงชีวิตอย่างนักปราชญ์จึง ไม่สร้างกำหนดกฎเกณฑ์เพียงหนึ่งเดียวให้แก่สรรพส่ิงทั้งหลาย ทั้งนี้หลังจากอบรมได้มีการเชิญผู้เข้าร่วมการอบรมเข้ากลุ่มไลน์ Buddhadasa studies เพื่อ การพูดคุยแลกเปลี่ยน และแนะนำสื่อการสอนที่เป็นประโยชน์กับผู้สอนอีกด้วย การนิเทศน์การสอน การนิเทศน์การสอนมีความจำเป็นอย่างย่ิงในการพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการ เรียนการสอนให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของหลักสูตร โดยการให้ความช่วยเหลือและคำแนะนำ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้เกิดผลดีต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนและผู้สอน และเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้สอน2 เนื่องจากเป็นการใช้หลักสูตรพุทธทาสศึกษาเป็นครั้งแรก ครูผู้สอนยังขาดประสบการณ์ในการ สอนหลักสูตรพุทธทาสศึกษา จึงจำเป็นต้องมีการติดตามเพื่อช่วยเหลือและให้คำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งคณะผู้จัดทำหลักสูตรผู้มีประสบการณ์ในการสอนวิชาพุทธทาสศึกษา รวมถึงศึกษานิเทศน์เพื่อช่วยให้ ครูผู้สอนได้มีแนวทางในการสอนที่พัฒนาศักยภาพของตนเอง ของสถานศึกษาให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนได้ ความรู้ที่สามารถนำไปสู่การใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างแท้จริง

บุญเรือน ปานจันทร์. รูปแบบการนิเทศน์แนวใหม่บูรณาการสู่สถานศึกษา. [ออนไลน์] เข้าถึงจาก http://cusuperviser.blogspot.com เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน 2559 2

]13 วิจัยการใช้หลักสูตร เพื่อให้การใช้หลักสูตรเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน และผู้สอนมีแนวทางการสอนที่นำไปสู่ผล สัมฤทธิ์ จึงกำหนดให้มีการวิจัยการใช้หลักสูตรเพื่อการพัฒนาการผู้เรียนและการพัฒนาการเรียนการสอน รวมถึงการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนที่พัฒนาให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของการมีศีลธรรม มีความรับผิด ชอบต่อหน้าที่ เป็นลูกที่ดี เป็นศิษย์ที่ดี เป็นเพื่อนที่ดี เป็นพลเมืองที่ดี เป็นศาสนิกที่ดี จะได้มีความเป็น มนุษย์ที่เต็ม โดยกำหนดเก็บข้อมูลจากผู้สอน ผู้เรียน สถานศึกษา และผู้ปกครอง โดยข้อมูลที่เก็บจากผู้ สอนคือแนวทางและกิจกรรมการเรียนการสอน ข้อมูลที่เก็บจากผู้เรียนคือการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับรวมถึง พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงจากกิจกรรมการเรียนการสอน ข้อมูลที่เก็บจากสถานศึกษาและผู้ปกครองคือ พฤติกรรมของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไปจากการเรียนหลักสูตรพุทธทาสศึกษา การปรับปรุงหลักสูตรหลังการทดลองใช้ในโรงเรียนนำร่อง หลังจากทดลองใช้หลักสูตรกับโรงเรียนนำร่อง 14 โรงเรียนในหนึ่งปีการศึกษา คณะกรรมการ กำหนดจัดการประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ออกแบบหลักสูตร ครูผู้สอน โรงเรียนที่ใช้หลักสูตร นักเรียนที่เรียนหลักสูตร ศึกษานิเทศน์ รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อร่วมกันวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของหลักสูตร และหาแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อนำมาใช้ในปีการศึกษาต่อไป สรุป หลักสูตรพุทธทาสศึกษาที่จัดทำขึ้นนี้อาจจะยังไม่ใช่หลักสูตรที่ดีที่สุด สมบูรณ์แบบที่สุด แต่ คณะผู้จัดทำต้องการให้เป็นจุดเร่ิมต้นที่สำคัญในการปฏิรูปการศึกษาในการต่อหางสุนัขด้วยการนำคำสอน ด้านศีลธรรมมาใช้ในการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 คณะ ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ นี้จะจุดประกายให้เกิดความตื่นตัวในการนำคำสอนด้านศีล ธรรมมาใช้ในการเรียนการสอน เป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในท้องถิ่นในการจัดทำไปจนถึงการใช้ หลักสูตร และยังเป็นการดึงภาคีเครือข่ายให้มาเข้ามีส่วนร่วมในการพัฒนาและใช้หลักสูตร

Lihat lebih banyak...

Comentários

Copyright © 2017 DADOSPDF Inc.