ความแวดไวทางวัฒนธรรม (Cultural Sensitivity) ในสังคมพหุลักษณ์ ; แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในการก้าวข้ามมายาคติทางชาติพันธุ์และการสลายสานึกเส้นแบ่งพรมแดนระหว่างรัฐชาติอุษาคเนย์

June 8, 2017 | Autor: น. สุภาพชนคนเมือง | Categoria: Multicultural Education
Share Embed


Descrição do Produto

ข้อเขียนทางวิชาการ "ปริศนาอาเซียน" : ความคาดหวังและการเปลี่ยนแปลงในอุษาคเนย์ 1

หัวข้อ ความแวดไวทางวัฒนธรรม (Cultural Sensitivity) ในสังคมพหุลักษณ์ ; แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้าง ความเข้าใจในการก้าวข้ามมายาคติทางชาติพันธุแ์ ละการสลายสานึกเส้นแบ่งพรมแดนระหว่างรัฐชาติอุษาคเนย์ 2 นายธนพงษ์ หมื่นแสน 1. ความนา กระแสโลกาภิวัตน์และระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ในตอนต้นศตวรรษที่ 21 เป็นตัวแปรหลักสาคัญให้เกิดการย่นย่อสังคมแห่ง ข้อมูลข่าวสารและสร้างการขยายตัวของตลาดการค้าระหว่างประเทศ ตลอดทั้งนาไปสู่การติดต่อเชื่อมโยงระหว่างผู้คนต่างวัฒนธรรมที่ มีมากยิ่งขึน้ สังคมที่เต็มไปด้วยปฏิสัมพันธ์ระหว่าง “พลโลก” (Global citizen) อันมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนาและ วัฒนธรรมนัน้ ก่อตัวขึน้ มาหลายในรูปแบบทั้งระดับมหภาค อาทิเช่น ประชาคมเศรษฐกิจ การเมืองระหว่างประเทศ อนุภูมิภาค และ ภาคพื้นทวีป หรือระดับจุลภาคทีเ่ ป็นอาณาบริเวณเฉพาะ อาทิเช่น พื้นที่รอยต่อของเขตแดนระหว่างประเทศที่มีการติดต่อค้าขาย มีการ อพยพของผู้คนและแรงงานข้ามพรมแดนไปมาซึ่งเต็มไปด้วยคนชายขอบหรือคนไร้รัฐ ฯลฯ ประเทศไทยก็เป็นอีกหนึ่งในหลายๆประเทศ ทีต่ า่ งก็ได้รับรู้เท่าทันสอดรับกับประโยชน์อันผลพวงแห่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทว่าขณะเดียวกันก็ตอ้ งเผชิญในส่วนของปัญหาที่ ติดตามมา โดยเฉพาะปัญหาว่าด้วยความขัดแย้งทางสังคมและวัฒนธรรมที่ก่อตัวขึ้น พร้อมๆกันกับสานึกความเป็นชาติภายใต้กรอบ เส้นเขตแดนสมมุติของรัฐสมัยใหม่ซึ่งคอยผลิตซ้าอุดมการณ์รัฐชาติในแบบฉบับ “ประวัตศิ าสตร์ที่เพิ่งสร้าง” คอยหล่อหลอมและหล่อ เลีย้ งสานึกของ “ประชารัฐ” ให้เป็นเนื้อหนึ่งเดียวกัน โดยผลผลิตอันเป็นประชารัฐดังกล่าวนั้น ก็ล้วนคอยสร้างความเป็นอื่น (Otherness) รวมทั้งผลัก “คนไร้รัฐ” สู่ความเป็นชายขอบและติดตามมาด้วยชุดคาอธิบายสาเร็จรูปที่อัดแน่นไปด้วยอคติ (Prejudice) ภาพลักษณ์ (Stereotype) การติดยึดชาติพันธ์ (Ethnocentrism ) มายาคติทางชาติพันธ์ (Ethnic Myth) สานึกชาตินิยมสุดโต่ง (UltraNationalism) ฯลฯ เหล่านีเ้ ป็นสิ่งซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงปัญหา “ความไม่แวดไวทางวัฒนธรรม” ทีล่ ้วนแล้วแต่เป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อ การเตรียมความพร้อมของประเทศไทยให้ก้าวสูเ่ ข้าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยจะมีการเริ่มเปิดเขตการค้าเสรี (ASEAN Economic Community – AEC) ในปี 2015 นี้ กระบวนทัศน์ทางการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 จึงมีส่วนสาคัญอย่างยิ่งที่จะคอยปลดเปลื้อง ลักษณะของความไม่แวดไวทางวัฒนธรรมเหล่านี้ให้ออกไปและเสริมสร้างความตระหนักทางวัฒนธรรม (Cultural Awareness) ให้ เกิดขึน้ ผ่านระบบการศึกษาสมัยใหม่ ในฐานะที่การศึกษานัน้ ถูกมองให้เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการการถ่ายทอดทางสังคม (Socialization) และส่งผ่านตัวแบบวัฒนธรรม (Cultural Model) บทความชิ้นนี้ จะนาเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้ว่าด้วย “ความแวดไวทางวัฒนธรรม” ให้แฝงเร้นฐานคิดนี้ไว้ในหลักสูตรปกติ และมีอยู่ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาซึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างความเข้าใจต่อผู้เรียนในเรื่องของการก้าวข้ามมายาคติทาง ชาติพันธุ์ รวมทั้งการสลายสานึกเส้นแบ่งพรมแดนระหว่างรัฐชาติ อันจะเป็นส่วนสอดรับกับแนวทางการจัดการศึกษาเชิงพหุวัฒนธรรมในศตวรรษที่ 21 ทั้งยังช่วยคลี่คลาย ลดทอนความไม่เข้าใจระหว่างกันและกัน รวมทั้งช่วยให้เกิดการ ก้าวข้ามอคติ ภายใต้ กรอบทางวัฒนธรรมชาตินิยมแบบล้นเกิน ซึ่งเป็นปัญหาอุปสรรคสาคัญภายใต้บริบทของการเมืองระหว่างประเทศ ทีป่ ระเทศไทยนัน้ จะได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมในภูมภิ าคอุษาคเนย์ ที่กาลังเป็นกระแสและก้าวเข้ามา 2. ความแวดไวทางวัฒนธรรมและการศึกษาเชิงพหุวัฒนธรรม : ความหมาย ความสาคัญและแนวทาง การจัดการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายภายใต้สังคมที่มีความเป็นพหุลักษณ์ จาเป็นต้องวางอยู่บนพืน้ ฐานความเข้าใจระหว่างกัน ความ แวดไวทางวัฒนธรรมทีม่ ีอยู่ภายใต้แนวทางการจัดการศึกษาเชิงพหุวัฒนธรรม จึงเป็นปัจจัยด้านตัวบุคคลที่จะคอยขับเคลื่อนนวัตกรรม การจัดการเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง(Learner-centered Instruction) ที่ทาให้ครูผู้จดั การเรียนรู้เข้าใจและยึดเป็นแนวปฏิบัตติ าม หลักความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Difference) ได้อย่างถูกต้อง ฉะนั้น การศึกษาที่แวดไวทางวัฒนธรรมจึงหมายถึง การ จัดการศึกษาโดยตระหนักถึงความแตกต่างและความเหมือนทางวัฒนธรรมมีผลกระทบต่อค่านิยม การเรียนรู้และพฤติกรรมของผู้เรียน ครูผู้จัดการเรียนรู้ตอ้ งหนุนเสริมให้ผู้เรียนเกิดความตระหนักว่ามีวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากวัฒนธรรมของตน จะต้องไม่พูดในทางที่จะ ทาให้ผู้อ่นื รู้สกึ ว่าโดนดูถูก พร้อมทั้งขยายและเพิ่มคุณภาพที่จะเปิดปรับรับกับความยืดหยุน่ ในการติดต่อ สัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งเป็นการทา 1

บทความนีใ้ ช้คาว่า "ความแวดไวทางวัฒนธรรม" โดยแปลมาจากคาว่า Cultural Sensitivity ส่วนคาว่า "ความอ่อนไหวทางวัฒนธรรม" มีนัยของ passive sense ซึ่งที่คา "แวดไว" นีไ้ ด้รับการแปลโดย อ.สามารถ ศรีจานงค์ คณะศึกษาศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ซึง่ กล่าวไว้เป็นครั้งแรกใน การเสวนา “การศึกษากับความ แวดไวทางวัฒนธรรม” เมื่อวันเสาร์ ที่ 21 เดือน กันยายน พ.ศ. 2556 ณ ห้อง 30 ปี คณะศึกษาศาสตร์ ม.เชียงใหม่

ความคุ้นเคยกับบางส่วนที่เลือกมาของลักษณะทางวัฒนธรรม ประวัตศิ าสตร์ ค่านิยม ระบบความเชื่อและพฤติกรรมของสมาชิกของ 3 กลุ่มชาติพันธุ์อื่นที่ทั้งใช้ชวี ติ เรียนร่วมอยูใ่ นสังคมเดียวกันกับเรา การสร้างความแวดไวทางวัฒนธรรม สามารถมีแนวทางได้ในหลายรูปแบบ ตัง้ แต่การริเริ่มในการติดต่อสัมพันธ์ รู้จักที่จะแสดง ความเคารพต่อวัฒนธรรมและประเพณีที่ต่างไปจากเรา เรียนรู้ภาษาโดยการออกเสียงเรียกชื่ออย่างถูกต้อง พูดคุยด้วยกันอย่างช้าๆ ชัดๆ และให้เวลากับการรับฟังอย่างอดทน มีความแวดไวต่อความรู้สกึ ของคนอื่นทีเ่ กี่ยวกับบ้านเกิดของเขา คอยสร้างความจริงใจ อย่างมีมติ รภาพและสิ่งสาคัญคือ อย่าปล่อยให้ความแตกต่างทางวัฒนธรรมกลายมาเป็นฐานของการตัดสินแบบฟันธง ในขณะเดียวกันการจัดการศึกษาอย่างมีความแวดไวทางวัฒนธรรม ก็เป็นสิ่งสอดคล้องกับข้อเสนอของนักทฤษฏีการศึกษา สายNeo-Marxist ดังเช่น (Michael Apple ,2000 ; อ้างใน นงเยาว์ ,2551: 119) ที่กล่าวไว้วา่ การเรียนรู้ทางวัฒนธรรมเป็นการเรียนรู้ เพื่อเข้าใจรากเหง้าของอานาจทีไ่ ม่สมดุลระหว่างประเทศสมาชิกในชุมชนโลก ผลกระทบทางเศรษฐกิจของความเป็นพลเมืองชั้นสอง และความเป็นชายขอบของนักเรียน ซึ่งในทางหลัก ก็คือ การจัดการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนทาความเข้าใจกับอานาจ(Power) ตาแหน่ง (Positions) พื้นที่(Spaces) ความหมาย (meaning) ของความเป็นเพศ ชาติพันธุ์ เชื้อชาติ ศาสนา ความเป็นพลเมืองและความเป็น พลเมืองของผู้อพยพย้ายถิ่น ข้อเสนอดังกล่าวจึงเป็นทั้งการขยายขอบเขตและมุง่ จัดวางตาแหน่งที่ “หลากหลายอย่างไม่เท่าเทียม” ให้ เกิดการขยับเคลื่อนจากฐานรัฐชาติสฐู่ านชุมชนโลก โดยถือว่าเป็นการท้าท้ายขนบของการศึกษาแบบเดิมและมุ่งเปลี่ยนมาเป็นการ ปลูกฝังให้เกิดความใกล้ชิดกลมกลืนและสร้างความคุ้นเคยเชิงพื้นทีเ่ พื่อสนองตอบต่อความเป็นชุมชนที่เหนือกว่าบริบทรัฐชาติ ยิ่งไปกว่า นัน้ การจัดการเรียนรู้ในทิศทางดังกล่าวยังจะช่วยถักทอสังคมขึน้ มาจากความสัมพันธ์แบบหลากหลาย รอบทิศทาง ปรับเปลี่ยนสานึก รวมทั้งพฤติกรรมอย่างไร้อคติและหนุนเสริมให้เกิดการก้าวข้ามพ้นมายาคติทางชาติพันธุ์ที่กาหนดสร้างขึน้ มา เพื่อรับใช้สานึกและวิธีคดิ ของรัฐไทยสมัยใหม่ที่ถูกกาหนด (Dominate) ระเบียบวิธีคดิ โลกทัศน์ในแบบเดียวกันกับศูนย์กลางอานาจ 3. การเบียดขับอคติ แทนทีด่ ้วยการเรียนรู้ หนึ่งในหลายๆ ข้อเสนอของ (สรุปความจาก Peter McLaren ,1998 ; อ้างใน ศิวรักษ์ , 2551:74-76) นักทฤษฏี Critical Pedagogy ชาวอเมริกันได้กล่าวถึง การเรียนการสอนเชิงวิพากษ์วา่ ต้องเป็นปากเสียงให้กับคนในท้องถิ่นและคานึงถึงบริบท โดยจะต้อง มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างการวิพากษ์กับการปฏิบัตกิ ารทางสังคม กล้าที่จะค้นหามิติเชิงพื้นที่ของมนุษย์ ทั้งคนในเมืองและคนใน ชนบทและต้องมีทั้งมิติบทบาทชายหญิงและเชื้อชาติดว้ ย เท่ากับเป็นการจัดการเรียนรู้ในสามมิตพิ ร้อมกัน คือ พื้นที่ ความรู้และอานาจ ส่วนสาคัญคือ นักการศึกษานั้นจะต้องเป็นพวกต่อต้านการเหยียดผิว ต่อต้านการกีดกันทางเชือ้ ชาติและต่อต้านอคติทางเพศ โดย การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปตามแนวทางข้างต้นจึงขึน้ อยูก่ ับกระบวนทัศน์ทางการศึกษาของครูในฐานะผูจ้ ัดกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งจาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางการศึกษาให้ก้าวเข้าไปสูก่ ารแวดไวทางวัฒนธรรม การจัดการเรียนรู้ต้อง คอยมุง่ สร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้รู้สกึ ตระหนักและเกิดการนึกคิดทีจ่ ะนาไปสู่ปฏิบัตกิ ารทางสังคมให้มกี ารปรับเปลี่ยนทาง พฤติกรรมเกิดขึ้นตามมา นั่นคือผลจาก “การเรียนรู”้ ของผู้เรียนเอง ในบริบทของการจัดการศึกษาภายใต้สังคมที่เป็นพหุ-ลักษณ์ หรือแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อการก้าวเข้าสูศ่ ตวรรษที่ 21 ควรต้องนาแนวทางนีไ้ ปใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัตกิ ารและแทรกไว้ใน หลักสูตร พื้นที่การจัดการเรียนรู้หรือองค์กรการจัดการเรียนรู้เพื่อหวังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตัง้ แต่ระดับสถาบัน ระดับองค์กร 4 ระดับปฏิสัมพันธ์และระดับบุคคล การปฏิบัตอิ ย่างยั่งยืนได้นั้น จะเกิดขึน้ ก็เพราะการหนุนเนื่องซึ่งกันและกัน “วัฒนธรรม” จึงเป็น “ตัวแบบ” ทีค่ อยสร้างบรรทัดฐานทางด้านการคิด/การรู้สกึ /การกระทา ครูในฐานะผู้ออกแบบกระบวนการ เรียนรู้ ก็จึงควรที่จะเรียนรู้ “ตัวแบบวัฒนธรรม”นี้ ของกลุม่ เป้าหมาย (ผู้เรียน) และบริบทพื้นที่ ทีม่ ีจัดการศึกษาให้เกิดความเข้าใจใน ความแวดไวทางวัฒนธรรมเสียก่อน ซึ่งจะช่วยให้ครูผจู้ ัดการเรียนรู้ได้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับผู้เรียนอย่างตรงกับข้อเท็จจริง เช่น รู้ว่า ผู้เรียนคิดหรือมีมโนทัศน์อย่างไรเกี่ยวกับตัวเลข พระอาทิตย์ สัตว์ การใส่บาตร การไหว้ ฯลฯ แล้วนามาเป็น “วัตถุดบิ นาเข้า” (Input) สู่ กระบวนการออกแบบจัดการเรียนรู้ รวมทั้งความจาเป็นที่ครูจะต้องมีขอ้ มูลเกี่ยวกับตัวแบบวัฒนธรรมของนักเรียนแต่ละคน อย่า “ทึกทัก” เอาตามประสบการณ์เดิมที่คนุ้ ชิน เพราะผลผลิตของกระบวนการออกแบบจัดการเรียนรู้ที่ได้ อาจกลายเป็นภาพเหมารวม (stereotype) ที่อาจจะไม่ตรงกับข้อเท็จจริงและแฝงฝังไว้ซึ่งอคติทางวัฒนธรรม การรวบรวมข้อมูลเหล่านีอ้ าจจะทาในรูปแบบของการ วิจัยชั้นเรียน (Classroom Research) ผ่านกระบวนการแนะแนวช่วยเหลือดูแลนักเรียนหรือกระบวนการทางจิตวิทยาทีอ่ ยู่ภายใต้บริบท ทางวัฒนธรรมนัน้ ๆ ผลที่ได้คือ ครูหรือผู้จัดการเรียนรู้เอง ก็จะเห็นประเด็นที่จะนามาใช้เป็นปัจจัยกาหนดกระบวนการจัดการเรียนรู้ 3

สรุปความได้จาก คาอภิปรายในหัวข้อ “ความแวดไวทางวัฒนธรรม: ความหมาย ความสาคัญ และ กระบวนการนาสู่ปฏิบัติ” โดยอ.สามารถ ศรีจานง คณะ ศึกษาศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ซึง่ กล่าวไว้เป็นครั้งแรกใน การเสวนา “การศึกษากับความแวดไวทางวัฒนธรรม” เมือ่ วันที่ 21 เดือน กันยายน พ.ศ. 2556 4 อ้างใน ไพพรรณ เกียรติโชติชัย.กระบวนทัศน์ใหม่แห่งการศึกษาในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : การศึกษา, 2545.

ได้อย่างตรงเป้าหมาย ไม่เพียงแต่ในชั้นเรียนเท่านัน้ หากแต่ครูและผู้บริหารสถานศึกษายังสามารถนามาแก้ปัญหาความสัมพันธ์ของ นักเรียนได้ อาทิเช่น การล้อเลียนชาติพันธุ์ที่มักเกิดขึน้ เสมอในโรงเรียนทั่วไป ครูจะต้องมีบทบาทที่จะเข้าไป “แทรกแซง” พร้อมทั้งเบียด ทิง้ อคตินนั้ ๆ และแทนที่ดว้ ยการเรียนรู้ให้เกิดความเข้าใจที่จะอยูร่ ่วมกัน 4. ก้าวข้ามมายาคติทางชาติพันธุ์ สลายสานึกเส้นแบ่งพรมแดนระหว่างรัฐชาติผา่ นระบบการจัดการศึกษา ปัญหาสาคัญในสังคมไทยว่าด้วยระดับความรู้ ทัศนคติและความเข้าใจที่มตี อ่ ประเทศรอบข้างในอุษาคเนย์ สะท้อนให้เห็นถึง กระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมผ่านระบบการศึกษาที่เต็มไปด้วยช่องว่างระหว่างองค์ความรู้ทีถ่ ูกสร้างขึน้ ในสังคมกับโลกแห่งความ เป็นจริงซึ่งแตกต่างกัน ช่องว่างดังกล่าวถูกแทนที่ดว้ ยมายาคติทางชาติพันธุ์ที่คอ่ นข้างสวนทางกับทิศทางของการปะทะประสานระหว่าง ประชาคมในภูมภิ าคอุษาคเนย์ที่พยายามจะก้าวล่วงไปสู่ ภาวะไร้พรมแดน ทั้งในด้านของการลงทุน แรงงานย้ายถิ่น การรับและการ เสพสื่อ ทว่าการรับรู้และความเข้าใจของสังคมไทยที่มีต่อโลกรอบข้างยังติดอยู่กับระนาบความรู้และจินตนาการเก่า ซึ่งเป็นผลผลิตใน ยุคสงครามเย็น การจัดการศึกษาตามแนวทางความแวดไวทางวัฒนธรรมจะต้องทาหน้าทีป่ ลดเปลื้องภาพลักษณ์ที่มีอยูใ่ นตัวเนื้อหา หลักสูตรและสานึกของผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ที่จาต้องก้าวให้พ้นกรอบการมองประเทศเพื่อนบ้าน ในฐานะศัตรูคู่แค้น โดยเดิมทีถูก สร้างขึน้ มาเพื่อสนองกลุม่ ผลประโยชน์ทางการเมือง และการจัดกระบวนการเรียนรู้จะต้องชี้ให้เห็นว่า กระบวนการดังกล่าวมี พัฒนาการเริ่มมาจากการเขียน “ประวัตศิ าสตร์แห่งชาติ” ทีย่ ังคอยสอดแทรกสานึกชาตินยิ มและส่งผ่านสูส่ ังคมในหลายรูปแบบที่ สาคัญส่งผ่านการศึกษาโดยรัฐเป็นผู้จัดการดูแลหลักสูตร การจัดการเรียนรู้รวมทั้งแบบเรียน จนท้ายที่สุดก่อให้เกิดความทรงจา(ใหม่) 5 ร่วมกัน ปลูกฝังให้มีความรู้สกึ ว่าคนไทยมีสภาพเหนือกว่าและดูถูกเหยียดหยามในด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้าน แนวทางที่จะก้าวล่วงไปสู่ภาวะไร้พรมแดนได้ในทางเศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรม นั่นคือ การสร้างให้พ้ืนที่ร่วมทางการศึกษา บนพืน้ ที่ชายขอบ โดยจัดให้มกี ระบวนการเรียนรู้ต่างๆ อย่างมีโลกทัศน์ที่ก้าวข้ามพรมแดน ความรู้ของผู้เรียนต้องไม่จากัดหรือติดอยูใ่ น กับดักของรัฐชาติ โดยจะขอยกเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้ - มีการบูรณาการชุดความรู้ที่ก้าวข้ามพรมแดนระหว่างรัฐ เช่น การเรียนรู้ลักษณะร่วมของสภาพภูมิศาสตร์ (แม่นา้ ภูเขา พืชพันธุ์) ในบริเวณพื้นที่ชายแดน - การเรียนรู้ลักษณะของตัวแบบทางวัฒนธรรมที่มีร่วมกันของผู้คนในพื้นที่ชายแดน เช่น ประเพณีสงกรานต์ระหว่างไทยเมียนมาร์ (มอญ) หรือระหว่างไทยกับลาว ประเพณีการไหลเรือไฟในลาน้าโขงระหว่างไทยกับลาว แม้กระทั่งความเชื่อ เรื่องการไหว้หรือนับถือสถานที่ศักดิ์สทิ ธิ์ที่แต่เดิมก็มกี ารข้ามพรมแดนไปมาเพื่อแสวงบุญสักการะมาตัง้ แต่อดีต เช่น การนับ ถือองค์พระธาตุพนม จังหวัดนครพนมของพี่นอ้ งไทย-ลาวสองฝั่งโขงหรือประเพณีการร่วมเดินขึน้ พระธาตุดอยตุง จังหวัด เชียงราย ของพี่นอ้ งชาวเครือไตในรัฐฉาน - ความรู้เรื่องการอัตราการแลกเปลี่ยนสกุลเงินเพื่อการติดต่อค้าขาย รวมทั้งการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างง่าย ของประเทศทีต่ งั้ อยูต่ ดิ กับพรมแดนใกล้สถานศึกษานัน้ ๆ ฯลฯ ตัวอย่างที่ยกมาในข้างต้น จึงล้วนแล้วแต่เป็นวัตถุดิบป้อนเข้าในกระบวนการออกแบบจัดการเรียนรู้ที่สามารถจัดขึน้ ได้ หากครูใน ฐานะผูจ้ ัดกระบวนการเรียนรู้มคี วามเข้าใจ พร้อมทั้งเปิดกว้างที่จะยอมรับนาเอาตัวแบบทางวัฒนธรรมอันหลากหลายเหล่านั้นมาเป็น ส่วนหนึ่งในการจัดกระบวนการเรียนรูใ้ ห้ผู้เรียนที่พร้อมจะก้าวสู่ความเป็นพลโลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งอย่างไรก็ตาม การทีจ่ ะก้าวพ้นกรอบการจัดการศึกษาในแบบฉบับเดิมๆนัน้ อีกหนึ่งข้อเสนอของบทความชิ้นนี้ ก็คือ การเปิดช่องให้องค์กรและชุมชน ในส่วนของท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้มีความเข้าใจในบริบทพื้นที่ เข้ามามีสัดส่วนมากขึน้ ในการกาหนดนโยบายการจัดการศึกษาที่มุ่งตอบสนอง เพือ่ คนในท้องถิ่นได้เอง 5. สรุป การจัดการศึกษาตามแนวทางของความแวดไวทางวัฒนธรรม เป็นสิ่งซึ่งหนุนเสริมให้เกิดกระบวนการสร้างความเข้าใจระหว่าง 6

กันในสังคมที่มีความเป็นพหุลักษณ์ อีกทัง้ ยังเป็นการมุง่ สร้างสานึกที่ว่า “เขามีเรา เรามีเขา เรามีกันและกัน” โดยผ่านการ ถ่ายทอดทางสังคมและส่งผ่านตัวแบบทางวัฒนธรรม อันจะคอยทาหน้าทีช่ อนไชและปลดเปลื้องมายาคติทางชาติพันธุ์ เพื่อการก้าวไปสู่ ภาวะไร้ซึ่งสานึกการมีอยู่ของเส้นเขตแดนระหว่างรัฐชาติอันพร้อมที่จะเกิดขึ้นบนหนทางแห่ง “ความคาดหวังร่วมที่มุ่งมองเห็นความ เปลี่ยนแปลง” ของผู้คนและสังคมอุษาคเนย์ ได้ในอนาคต 5 6

สรุปความจาก สุเนตร ชุตินธรานนท์และคณะ .ชาตินิยมไทยในแบบเรียน .กรุงเทพฯ : มติชน ,2557 อ้างจาก งานเสวนาเรื่อง “มารยาทควรรู้ เมื่อเปิดประตูเพื่อนบ้าน” สมฤทธิ์ ลือชัย และ อัครพงษ์ ค่าคูณ ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เมื่อ 6 ส.ค 2557

บรรณานุกรม คาอภิปรายหัวข้อ “ความแวดไวทางวัฒนธรรม: ความหมาย ความสาคัญ และกระบวนการนาสู่ปฏิบัต”ิ โดย อาจารย์สามารถ ศรีจานงค์ เสวนา “การศึกษากับความแวดไวทางวัฒนธรรม” เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556 [ระบบออนไลน์}. แหล่งที่มา: http://www.multied.org/ (2557,สิงหาคม 29). จินตนา สุจจานันท์. (2556).การศึกษาและการพัฒนาชุมชนในศตวรรษที่ 21 ,กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์ ชนิตา รักษ์พลเมือง . (2531) . สังคมวิทยาการศึกษา : สารัตตะแห่งแนวความคิดและทฤษฎี . กรุงเทพฯ :สานักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน. องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรูท้ มี่ ปี ระสิทธิภาพ, กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นงเยาว์ เนาวรัตน์ .(2551). สังคมโลกาภิวัตน์ : เศรษฐกิจ รัฐ และการศึกษา .เชียงใหม่ :กู๊ดปริ๊นซ์ พริ้นติ้ง เชียงใหม่ _______________ (2556). การศึกษาในระบบโรงเรียน: การสร้างความเป็นอืน่ ให้กับผู้หญิง. [ระบบออนไลน์] .แหล่งที่มา : http://www.multied.org/Basic%20Link/Datadased.html บันทึกวิดีโอเสวนาเรื่อง “มารยาทควรรู้ เมื่อเปิดประตูเพื่อนบ้าน” สมฤทธิ์ ลือชัย และ อัครพงษ์ ค่าคูณ ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)[ออนไลน์}. แหล่งที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=69jaEKjkYsc (2557,สิงหาคม 29). สุเนตร ชุตินธรานนท์และคณะ . (2557).ชาตินิยมไทยในแบบเรียน .กรุงเทพฯ : มติชน

เก่งกิจ กิตติเรียงลาภ .(2555) . บทสรุปการบรรยายในวิชา สังคมวิทยาอุตสาหกรรม เรื่อง อุตสาหกรรมและงาน บรรยายให้กับ นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (เอกสารอัดสาเนา)

ขวัญชีวัน บัวแดง และคณะ. (2549).การศึกษาและพัฒนาการสื่อสารสุขภาพในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ กรณีศึกษากลุ่มแรงงานไทใหญ่ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ . เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ชูสิทธิ์ ชูชาติ .(2545) . พ่อค้าวัวต่าง ผูบ้ ุกเบิกการค้าขายในหมูบ่ ้านภาคเหนือของประเทศไทย (พ.ศ. 2398-2503) . เชียงใหม่ . ศูนย์ศกึ ษาภูมปิ ัญญาท้องถิ่น ชูสิทธิ์ ชูชาติ .(2549) . พ่อค้าเรือหางแมงป่อง นายฮ้อยหลวงลุ่มน้าปิง (1839-2504). พิมพ์ครัง้ ที่ . เชียงใหม่ . ศูนย์ ศึกษาภูมปิ ัญญาท้องถิ่น ฐิติมดี อาพัทธนานนท์ . (2555). โรงเรียนหลากวัฒนธรรม : นโยบายการจัดการศึกษาของรัฐไทยในสังคมพหุวัฒนธรรม. สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สานักวิจัยและพัฒนา

เดวิด ฮาร์วี่.(2550). ประวัตศิ าสตร์ฉบับย่อของลัทธิเสรีนยิ มใหม่. แปลจาก A Brief History of Neoliberalism แปลโดย เก่งกิจ กิตเิ รียง ลาภ, นรุตม์ เจริญศรี, ภัควดี วีระภาสพงษ์, สุรัตน์ โหราชัยกุล และอภิรักษ์ วรรณสาธพ: สวนเงินมีมา. ธนพงษ์ หมื่นแสน (2558) . ข้อเขียน “ปริศนาอาเซียน ความคาดหวังและความเปลี่ยนแปลงในอุษาคเนย์” ในบทความทีช่ ื่อว่า “ ความแวดไวทาง วัฒนธรรม(Cultural Sensitivity) ในสังคมพหุลักษณ์: แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในการก้าวข้ามมายาคติทางชาติพันธุ์

และการสลาย สานึกเส้นแบ่งพรมแดนระหว่างรัฐชาติอุษาคเนย์” และได้รับการตีพมิ พ์บทความในวารสาร BECOMING ASEAN from Below ของศูนย์ อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ธนพงษ์ หมื่นแสน (2558) . บทสังเคราะห์กระบวนการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการเพื่อการถ่ายทอดเรื่องราว “ชีวิตเด็กชายขอบ” ด้วยกระบวนการ ผลิตหนังสั้น เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการเรื่อง การเข้า (ไม่) ถึงสิทธิทางการศึกษาและวัฒนธรรมของเด็กข้ามชาติ จัดโดยศูนย์พหุวัฒนธรรม และนโยบายการศึกษา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับกลุ่มพลังเยาวชนไทใหญ่ (Shan Youth Power) โดยได้รับการสนับสนุน งบประมาณจากมูลนิธิโตโยต้า ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ณ ห้องประชุมฝ้ายคา (ตึกใหม่) สานักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ปวีณา ราชสีห์ (2555) .ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อการเรียนรู้ ของแรงงาน ข้ามชาติชาวไทใหญ่ .วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประทุม อังกูรโรหิต. (2556). ปรัชญาปฏิบัตินยิ ม:รากฐานปรัชญาการศึกษาในสังคมประชาธิปไตย (พิมพ์ครัง้ ที่ 5 ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพ ฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปลายอ้อ ชนะนนท์ .(2530). นายทุนพ่อค้ากับการก่อตัวและขยายตัวของระบบทุนนิยมในภาคเหนือของไทย พ.ศ. 2464 -2523 . กรุงเทพฯ: โครงการหนังสือเล่ม สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสานักพิมพ์สร้างสรรค์ จากัด รัตนาพร เศรษฐกุล.(2552). ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจวัฒนธรรม แอ่งเชียงใหม่-ลาพูน . เชียงใหม่ : พิมพลักษณ์ วราภรณ์ เรืองศรี .(2550). การค้ากับเครือข่ายความสัมพันธ์ของกลุ่มชาติพันธุใ์ นล้านนาก่อนการสถาปนาระบบเทศาภิบาล วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาประวัตศิ าสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศิวรักษ์ ศิวารมย์ .(2551). สังคมศาสตร์การศึกษา . กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์ สำลี ทองธิว (บรรณำธิกำร) .2530. กำรศึกษำกับกำรเปลี่ยนแปลงสั งคม / บรรณำธิกำรกรุ งเทพฯ : โครงการตาราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุ ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นงเยาว์ เนาวรัตน์และคณะ. (ม.ป.ป.). รายงานการวิจัย ประชาคมและสิทธิการศึกษาสาหรับเด็กไร้รัฐ . คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ม.ป.ท.)

นงเยาว์ เนาวรัตน์ .(2551). สังคมโลกาภิวัตน์ : เศรษฐกิจ รัฐ และการศึกษา .เชียงใหม่ :กู๊ดปริ๊นซ์ พริ้นติ้ง เชียงใหม่ นงเยาว์ เนาวรัตน์และคณะ .(2557). เอกสารประกอบการสอนกระบวนวิชา 100310 การศึกษาพหุวัฒนธรรม (Multicultural education) อุษณีย์ ธงไชย. (2526) . ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยาและล้านนา พ.ศ. 1839 -2101 . วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาประวัติศาสตร์ คณะอักษร ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Lihat lebih banyak...

Comentários

Copyright © 2017 DADOSPDF Inc.