ข้อเปรียบเทียบ รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment, EIA) กับ ประมวลหลักการปฎิบัติ (Code of Practice, COP) สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิง ที่มีกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าตั้งแต่10เมกกะวัตต์ขึ้นไป

Share Embed


Descrição do Produto

ข้อเปรียบเทียบ รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment, EIA)1 กับ ประมวลหลักการปฎิบัติ (Code of Practice, COP) 2 สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิง ที่มีกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าตั้งแต่10เมกกะวัตต์ขึ้นไป เรียบเรียงโดย ดร.สมนึก จงมีวศิน นักวิชาการอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ภาคตะวันออก

รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า EIA คือเครื่องมือที่สำคัญในการช่วย คาดการณ์และศึกษาความเหมาะสมของการก่อสร้างและการดำเนินกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนที่ใช้ขยะ มูลฝอยเป็นเชื้อเพลิง โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าฯที่มีขนาดใหญ่เกินกว่า VSPP (Very Small Power Plant) หรือ ที่มี กำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าตั้งแต่10เมกกะวัตต์ขึ้นไป เพราะการจัดทำEIA จะเริ่มขั้นตอนของการศึกษาโครงการ เชิงลึกแบบมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ ตั้งแต่การเลือกที่ตั้งโครงการ การเลือกเทคโนโลยี่ที่เหมาะ สมทั้งในส่วนของอุปกรณ์ เส้นทางและวิธีการรวบรวมขนส่งขยะมูลฝอย การคัดแยกขยะมูลฝอย โดยมีข้อมูล จากการศึกษาองค์ประกอบทางกายภาพและทางเคมีของขยะมูลฝอย ณ สถานที่กำจัด ซึ่งจะนำมาใช้เป็นเชื้อ เพลิงในโครงการฯเป็นข้อมูลนำเข้าเพื่อเลือกองค์รวมของระบบที่มีผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพให้ น้อยที่สุด มีกระบวนการศึกษาเพื่อประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของโครงการฯอย่างชัดเจน โดยเฉพาะผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ ซึ่งหลักๆก็คือ ประชาชนที่อาศัยโดยรอบ โครงการโรงไฟฟ้าฯทั้งในกรณีปกติและกรณีเลวร้าย เพื่อเสนอมาตรการที่เหมาะสมระหว่างการก่อสร้างและ หลังการก่อสร้างโรงไฟฟ้าฯ โดยที่เปิดช่องทางให้ประชาชนโดยรอบได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ EIAทุก ขั้นตอน ในกระบวนการทำEIAของโครงการฯจะมีข้อได้เปรียบคือ จะมีการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ใน การพยากรณ์ว่าค่ามลพิษสูงสุด รวมไปถึงฝุ่นละอองต่างๆที่เกิดจากการก่อสร้างโครงการฯและการดำเนินการ โครงการฯจะตกลงในบริเวณใดของพื้นที่ที่ตั้งโครงการฯและพื้นที่โดยรอบ มีผลทำให้การตรวจวัดจากจุดสงสัย ว่าจะก่อกำเนิดมลพิษเป็นตัวแทนของข้อมูลที่ประชาชนจะได้รับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพได้อย่าง แท้จริง และทำให้โครงการฯมีมาตรการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่มีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลในการรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้จริง

ในกระบวนการEIAนั้นจะมีแผนการปฎิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อโครงการโรงไฟฟ้าฯนั้นๆ เพราะเป็นการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่คำนึงถึงทรัพยากรทางกายภาพและชีวภาพที่มีในพื้นที่โครง การฯ ตลอดจนคุณค่าการใช้ประโยชน์และคุณภาพชีวิตของชุมชนโดยรอบโครงการฯ อาทิเช่น คุณภาพอากาศ ก่อนและหลังมีโครงการฯ การใช้ทรัพยากรน้ำก่อนและหลังมีโครงการฯ การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ก่อนและหลัง มีโครงการฯ สภาพเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนโดยรอบที่อาจเปลี่ยนแปลงไปก่อนและหลังมีโครงการฯ เป็นต้น โดยแผนการปฎิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมจะแบ่งเป็นแผนระหว่างการก่อสร้างโครงการฯและหลังการ รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฉบับสมบูรณ์ โครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะมูลฝอย ประเภท โรงไฟฟ้าพลังความร้อน ที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้าต้งแต่ 10 เมกกะวัตต์ขึ้นไป ภายใต้โครงการก่อสร้างระบบ กำจัดขยะมูลฝอยจังหวัดนนทบุรี, ตำบลคลองขวาง อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี: รายงานหลัก 1

ประมวลหลักการปฎิบัติ (Code of Practice: COP) สำหรับโครงการที่เข้าข่ายได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดทำ รายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิง ที่มี กำลังผลิตไฟฟ้าต้งแต่ 10 เมกกะวัตต์ขึ้นไป 2

1

ก่อสร้างโครงการฯ ซึ่งจะเน้นหนักไปในเรื่อง แผนปฎิบัติการด้านคุณภาพอากาศ ด้านเสียง ด้านคุณภาพน้ำผิว ดิน ด้านคุณภาพน้ำใต้ดิน ด้านนิเวศวิทยาทางน้ำ ด้านคมนาคม ด้านการจัดการขยะและกากของเสีย ด้าน สุขภาพ (สาธารณสุข อาชีวอนามัย และ ความปลอดภัย) ด้านเศรษฐกิจสังคม และ ด้านการมีส่วนร่วมของ ประชาชนและการประชาสัมพันธ์

ในทางกลับกัน ประมวลหลักการปฎิบัติ หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า COP คือเครื่องมือควบคุมการดำเนิน กิจการของโรงไฟฟ้าฯหลังการก่อสร้าง เป็นเครื่องมือที่ไม่มีกระบวนการศึกษาความเหมาะสมของการก่อสร้าง และการดำเนินกิจการโรงไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ไม่มีขั้นตอนของการศึกษาโครงการในเชิง ลึกแบบมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ ผู้ประกอบการสามารถที่จะเลือกที่ตั้งโครงการ เลือก เทคโนโลยี เส้นทางและวิธีการรวบรวมขนส่งขยะมูลฝอย รวมไปถึงกระบวนการการคัดแยกขยะมูลฝอยได้ตาม อำเภอใจ ขาดซึ่งการมีส่วนร่วมของประชาชนที่อาศัยโดยรอบโครงการโรงไฟฟ้าฯ ไม่มีขั้นตอนในการนำเสนอ มาตรการที่เหมาะสมกับพื้นที่โดยประชาชนโดยรอบโครงการฯ ทั้งระหว่างการก่อสร้างและหลังการก่อสร้างโรง ไฟฟ้าฯ เพราะแผนการปฎิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมจะเน้นไปที่แผนปฎิบัติการหลังการก่อสร้างโครงการฯ ซึ่งจะ เป็นแผนมาตรฐานทั่วไป ไม่ได้ถูกกำหนดมาจากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบด้านทรัพยากรทาง กายภาพและชีวภาพที่มีในพื้นที่โครงการฯ รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบด้านคุณค่าการใช้ ประโยชน์และคุณภาพชีวิตของชุมชนโดยรอบโครงการฯ ในมิติของการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยรอบโครง การฯนั้นจะเห็นว่าCOPยังขาดมาตรการในการให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอ บการปฎิบัติงานของโครงการฯระหว่างการก่อสร้างและหลังการดำเนินโครงการฯอีกด้วย

นอกจากนี้ COPไม่ได้กำหนดให้มีการติดตามตรวจสอบ ตรวจวัด สารอันตรายต่างๆที่อาจเกิดขึ้นใน กระบวนการการผลิตไฟฟ้าและกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง เช่นโลหะหนักในกลุ่มสารปรอท สารหนู แคดเมี่ยม ฯลฯ จากปล่องระบายอากาศของเตาเผา ทั้งๆที่โลหะหนักกลุ่มต่างๆที่กล่าวมา ถือเป็นสารพิษที่มีอันตรายต่อสุขภาพ อนามัยของประชาชนอย่างมาก ยิ่งไปกว่านั้นCOPยังขาดซึ่งกระบวนการติดตามตรวจสอบสารในกลุ่มไดออก ซินและฟิวแรน ตลอดไปจนถึงโลหะหนักต่างๆในชั้นบรรยากาศด้วย

ความแตกต่างประการสำคัญที่สุดระหว่างEIAและCOPคือ COPไม่สามารถกำหนดจุดหรือบริเวณที่ ต้องทำการตรวจวัดมลพิษเพื่อเฝ้าระวังสุขภาพของประชาชนที่ชัดเจนได้ อันเนื่องมาจากCOPไม่ได้มีการใช้แบบ จำลองทางคณิตศาสตร์เหมือนกับการจัดทำEIA ในการพยากรณ์ว่าค่ามลพิษสูงสุด รวมไปถึงฝุ่นละอองต่างๆที่ เกิดจากการก่อสร้างโครงการฯและการดำเนินการโครงการโรงไฟฟ้า จะตกลงในบริเวณใดของพื้นที่ที่ตั้ง โครงการไฟฟ้าฯและพื้นที่โดยรอบ มีผลทำให้การตรวจวัดจากจุดสงสัยว่าจะก่อกำเนิดมลพิษในCOPไม่มีทางที่ จะเป็นตัวแทนของข้อมูลที่ประชาชนจะได้รับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพได้อย่างแท้จริง

COPไม่ได้มีมาตรการและแผนการในการอพยพชุมชนที่ตรงกับสภาพแวดล้อมจริงของพื้นที่ ในกรณี การเกิดอุบัติเหตุและอุบัติภัยในบริเวณโครงการ เพราะไม่มีการศึกษาเชิงลึกร่วมกับชุมชนโดยรอบโครงการฯ ในสภาพพื้นที่จริง ในเรื่องผลกระทบต่อทรัพยากรทางกายภาพ (เช่น สภาพภูมิอากาศและอุตุนิยมวิทยา ธรณีวิทยาและแผ่นดินไหว ฯลฯ) และผลกระทบต่อคุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ (เข่น การระบายน้ำและ ป้องกันน้ำท่วม การป้องกันอัคคีภัย ฯลฯ) ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ COPไม่ได้มีการใช้แบบจำลองทาง คณิตศาสตร์เหมือนกับการจัดทำEIAตามที่กล่าวมาแล้วในการกำหนดมาตรการและแผนการอพยพชุมชนใน กรณีปกติและกรณีเลวร้าย เช่น ในกรณีการเกิดไฟไหม้ในโครงการ การระเบิดของหม้อไอน้ำ(Boiler Explosion)ระหว่างการผลิตไฟฟ้า หรือ การเกิดภัยพิบัติต่างๆ อาทิเช่น อุทกภัย วาตภัย แผ่นดินไหว ฯลฯ

2

สุดท้ายนี้COPยังขาดมาตรการในการดูแลสุขภาพของชุมชน เนื่องจากไม่ทราบว่าชุมชนกลุ่มใดมี ความเสี่ยงที่อาจได้รับผลกระทบจากมลพิษของโรงไฟฟ้าฯบ้าง เพราะไม่ได้มีการศึกษาพื้นที่ในมิติของผลกระ ทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในเชิงลึกเหมือนการทำEIA ยิ่งไปกว่านั้นCOPไม่ได้กำหนดให้ต้องแสดงค่าผล การตรวจวัดมลพิษในสิ่งแวดล้อมในสภาพก่อนเกิดโครงการฯ ดังนั้นหลังมีโครงการฯเกิดขึ้นแล้วและมีการ ปล่อยมลพิษออกมา จะทำให้ไม่สามารถเปรียบเทียบค่ามลพิษกับสภาพแวดล้อมดั้งเดิมได้ ก่อให้เกิดผลกระทบ ต่อความวิตกกังวลและการไม่ยอมรับให้โครงการฯเข้ามาตั้งในพื้นที่ ซึ่งแตกต่างกับกระบวนการทำEIA ที่มีการ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่คำนึงถึงทรัพยากรทางกายภาพและชีวภาพที่มีในพื้นที่โครงการฯ ตลอด จนคุณค่าการใช้ประโยชน์และคุณภาพชีวิตของชุมชนโดยรอบโครงการฯ ทั้งก่อนมีโครงการฯและหลังจากมี โครงการฯแล้ว

3

บรรณานุกรม

1. องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี 2556, รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฉบับสมบูรณ์ โครงการ ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะมูลฝอย ประเภทโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้าต้งแต่ 10 เมกกะ วัตต์ขึ้นไป ภายใต้โครงการก่อสร้างระบบกำจัดขยะมูลฝอยจังหวัดนนทบุรี, ตำบลคลองขวาง อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี: รายงานหลัก, โดย บจก. แมคโคร คอนซั44ลแตนท์, มีนาคม, นนทบุรี.

2. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2558, ประมวลหลักการปฎิบัติ (Code of Practice: COP) สำหรับโครงการที่เข้าข่ายได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่ง แวดล้อม โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิง ที่มีกำลังผลิตไฟฟ้าต้งแต่ 10 เมกกะ วัตต์ขึ้นไป, อ้างใน เอกสารวาระการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2558, วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2558, สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรุงเทพฯ.

4

Lihat lebih banyak...

Comentários

Copyright © 2017 DADOSPDF Inc.