Art as Instrumental

July 24, 2017 | Autor: L. Temiyasillapin | Categoria: Aesthetics, Art Theory, History of Art, Fine Arts, สุนทรียศาสตร์
Share Embed


Descrição do Produto





ลัทธิ คติความเชื่อ ความคิดเห็น และหลักการที่มีผู้นิยมนับถือและปฏิบัติตามสืบเนื่องกันมา เช่น ลัทธิสังคมนิยม ลัทธิทุนนิยม, พจนานุกรม, ราชบัณฑิตยสถาน, "ลัทธิ", พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2556(2013): 1079.
การปฏิวัติอุตสาหกรรม Industrial Revolution คือช่วงเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 1750 ถึง ค.ศ. 1850 เมื่อการเปลี่ยนแปลงในภาคเกษตรกรรม, การผลิต, การทำเหมืองแร่, การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยี ส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อสภาพสังคม, เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมในขณะนั้น การปฏิวัติเริ่มต้นในสหราชอาณาจักร จากนั้นจึงแพร่ขยายไปยังยุโรปตะวันตก, อเมริกาเหนือ, ญี่ปุ่น จนขยายไปทั่วทั้งโลกในเวลาต่อมา, Unknown Author, การปฏิวัติอุตสาหกรรม, เข้าถึงเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2558, เข้าถึงได้จาก.wikipedia.org/wiki/การปฏิวัติอุตสาหกรรม
Sublime (ซับไลม-) n. ทำให้บริสุทธิ์ บริสุทธิ์ขึ้น ประเสริฐ เลิศ ยิ่งยวด , So Sethaputra, New Model English-Thai Dictonary, พิมพ์ครั้งที่1(กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิชย์, 2535)582.
กำจร สุนพงษ์ศรี, สุนทรียศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่1(กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555)113.
หนังสือหลักธรณีวิทยา The principles of geology ของชาร์ลส์ ไลแอล (Charles Lyell) ผู้ซึ่งได้รับขนานนามว่าเป็น "บิดาของธรณีวิทยา" ซึ่งเป็นผลงานชิ้นเอกที่มีความสำคัญต่อวงการธรณีเป็นอย่าง, Unknown Author,ผลงานหนังสือหลักธรณีวิทยา , เข้าถึงเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2558, เข้าถึงได้จากhttps://www.facebook.com/GeoThai/posts/512567378782005
Unknown Author,แนวคิดของดาร์วิน , เข้าถึงเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2558, เข้าถึงได้จากhttps://sites.google.com/site/elearningevolution/evolution/ct-2/ct-2-2
ลีโอ ตอลสตอย, What is art?, พิมพ์ครั้งที่4(กรุงเทพฯ: openbooks, 2554)183.
ลัทธิมากซ์ (อังกฤษ: Marxism) หรือมักใช้ทับศัพท์ว่า มาร์กซิสต์ คือทฤษฎีสังคม และการเมือง ที่มีพื้นฐานมาจากผลงานของคาร์ล มากซ์ และฟรีดริช เองเงิลส์ ลัทธิมากซ์มีอิทธิพลอย่างสูงต่อลัทธิคอมมิวนิสต์ (Communism) และยังมีอิทธิพลต่อวงวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง, Unknown Author,ลัทธิมากซ์ , เข้าถึงเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2558, เข้าถึงได้จาก wikipedia.org/wiki/ลัทธิมากซ์ 
คอมมิวนิสต์ ระบบเศรษฐกิจการเมืองและสังคมแบบหนึ่งของลัทธิสังคมนิยมที่มีอุดมการณ์ให้รวมทรัพย์สินทั้งปวงเป็นสมบัติส่วนกลางของชุมชน ไม่ให้มีกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล, ราชบัณฑิตยสถาน, "คอมมิวนิสต์", พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2556(2013): 247.

กำจร สุนพงษ์ศรี, สุนทรียศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่1(กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555)116.
ชญา ปิยะชาติ, กรีก-โรมัน ประวัติศาสตร์และอารยธรรมต้นธารภูมิปัญญาและวิทยาการแห่งโลกตะวันตก, พิมพ์ครั้งที่3(กรุงเทพฯ:ยิปซี กรุ๊ป, 2556)32.
ครีบยันลอย flying buttress ในทางสถาปัตยกรรม ครีบยันลอยเป็นครีบยัน ประเภทหนึ่งที่มักจะใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานเพื่อแบ่งรับน้ำหนักจากหลังคามาสู่ครีบยันที่กระจายออกไปเป็นระยะ ๆ ซึ่งอาจจะเป็นช่องทางเดินข้าง (aisle) คูหาสวดมนต์ หรือระเบียงนอกสิ่งก่อสร้าง, Unknown Author, ครีบยันลอย, เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2558, เข้าถึงได้จาก.wikipedia.org/wiki/ครีบยันลอย
สกุลศิลปะบาร์บิซง Barbizon school คือปรัชญาศิลปะของกลุ่มศิลปินที่ตั้งตามชื่อหมู่บ้านบาร์บิซงที่รุ่งเรืองระหว่างราว ค.ศ. 1830 ถึง ค.ศ. 1870 หมู่บ้านบาร์บิซงเป็นหมู่บ้านที่เป็นที่ตั้งหลักแหล่งของศิลปินกลุ่มนี้ที่อยู่ไม่ไกลจากป่าฟงแตนโบล, Unknown Author, สกุลศิลปะบาร์บิซง , เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2558, เข้าถึงได้จาก.wikipedia.org/wiki/สกุลศิลปะบาร์บิซง 

Art as Instrumental: ศิลปะคือเครื่องมือ (ที่ให้อิทธิพลและมีผลในทางปฏิบัติ)
ทฤษฎีในปรัชญาศิลปะประกอบด้วยหลากหลายหลักการด้วยกัน หลักทางปรัชญาศิลปะที่ว่านี้มีไว้เพื่อเป็นการจำแนกอุดมการณ์ทางการสร้างสรรค์ที่แตกต่างกันออกไปของศิลปิน และเป็นแนวทางยึดถือปฏิบัติ ทั้งนี้ยังสามารถเป็นเครื่องมือที่ใช้ชี้วัด สำหรับการประเมินคุณค่าผลงานศิลปะในทางวิชาการอีกด้วย ทฤษฎีต่างๆเหล่านี้แทรกซึมอยู่กับสภาพสังคมที่เป็นตัวกำหนดแนวทางศิลปะให้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย รวมถึงปะปนอยู่ในลัทธิ(-ISM) ต่างๆ หนังสือวิชาการศิลปะหลายเล่ม จำแนกประเภทและหลักการไว้ชัดเจน แต่มีข้อแตกต่างกันออกไปบ้าง อาจขึ้นอยู่กับการตีความของนักวิชาการ ถึงเรื่องทฤษฎีหลักประเภทต่างๆสามารถแยกออกเป็นทฤษฎีย่อยได้ เช่น ทฤษฎีศิลปะคือการแสดงออกถึงจิตวิญญาณแห่งยุคสมัย หรือศิลปะคือประสบการณ์ และศิลปะคือการปรากฏของมโนภาพ เป็นต้น
Instrumentals แปลเป็นภาษาไทยว่า เครื่องมือ, อุปกรณ์ หรือ มีประโยชน์ Art as Instrumentals จึงหมายความว่า ศิลปะคือเครื่องมือที่ให้ผลในทางปฏิบัติ "เครื่องมือ"คำๆนี้มีความหมายที่กว้างขวาง สามารถขยายความ และตีความหมายของมันได้เป็น 2 แง่ใหญ่ๆตามความคิดเห็นของผู้เขียน คือ 1.) เครื่องมือในที่นี้สามารถให้ประโยชน์ หรือส่งผลกระทบต่อจิตใจคนดู 2.) หมายความว่าเป็นเครื่องมือในการแสดงออกของศิลปินเพียงอย่างเดียว แต่ทฤษฎีดังกล่าว เจาะจงมุ่งเน้นไปที่การสะท้อนบางสิ่งบางอย่างแก่ผู้คน มากกว่าการเป็นเครื่องมือถ่ายทอดเพื่อตัวศิลปินเอง ศิลปะทำหน้าที่คล้ายกับสื่อที่ถูกปรุงแต่งในปัจจุบันเพื่อให้คนในสังคมบริโภคเสพ ทำให้ทฤษฎีนี้เป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่ใช้สำหรับการตีแผ่ออกมาเป็นรูปแบบของผลงานศิลปะ อาจเพื่อโน้มน้าวจิตใจ รวมถึงเป็นการโฆษณาชวนเชื่อ ความเป็นไปได้ของทฤษฎีนี้ยังสอดคล้องเชื่อมโยงกับลัทธิ เครื่องมือนิยม(Instrumentalism) ที่ให้ความหมายไว้ว่า เป็นปรัชญาทางศิลปะชนิดหนึ่ง ที่กล่าวว่าศิลปะรูปแบบนี้ ไม่เพียงต้องการแค่ว่างามหรือการตกแต่ง ไม่ใช่เพียงแค่ความงามทางสุนทรียภาพตามธรรมชาติเท่านั้น แต่มันคือแรงปะทะทางสังคมที่ให้ผลเชิงประจักษ์แก่ผู้ชม และพยายามหาคำตอบเกี่ยวกับความคิดของคนในสังคมช่วงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอันใหญ่หลวง กรอบความคิดของกลุ่มนี้ คิดว่าศิลปะเป็นเครื่องมือสำหรับพัฒนาศีลธรรม ศาสนา การเมืองหรือจุดมุ่งหมายทางจิตวิทยา
ซึ่งทฤษฎีเครื่องมือนิยมนี้ ก่อตัวขึ้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 จากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่1 ในสหราชอาณาจักร ที่เปลี่ยนจากเศรษฐกิจแบบพึ่งพาแรงงานคนและสัตว์เป็นหลัก ไปเป็นเศรษฐกิจแบบพึ่งพาเครื่องจักรกล
ทฤษฎีนี้มีขอบข่ายที่กว้างขวาง สอดประสานแทรกซึมอยู่ในผลงานศิลปะแทบทุกยุคสมัย ไม่เพียงแค่ลัทธิเครื่องมือนิยมข้างต้น แต่ปรากฎอยู่ทั่วไปในทุกๆลัทธิศิลปะ เพราะบริบทของศิลปะในทุกช่วงนั้น ต่างถูกกำหนดให้เป็นสื่อตามที่ผู้เขียนได้กล่าวไว้ เพราะฉะนั้น ศิลปะจึงถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับใช้สื่อสารกับผู้คนในสังคม ไม่เพียงแต่บทบาททางการเมือง ยังสามารถเชื่อมโยงไปถึงความเชื่อ ความศรัทธาทางศาสนา ตามทัศนะของผู้เขียน จึงขอแบ่งแยกผลลัพธ์ จากทฤษฎีศิลปะคือเครื่องมือ ออกเป็น 2กลุ่ม ดังนี้
ให้ผลลัพธ์ในทางสังคม เพื่อเปิดโลกทัศน์ให้รับรู้ถึงสภาพความเป็นจริง
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นหมู่มาก เป็นผลทำให้เกิดสถานภาพทางสังคมที่ไม่เท่าเทียมกัน เนื่องจากการแบ่งชนชั้นที่ชัดเจนเพื่อการปกครองหรือแบ่งผลประโยชน์กันในหมู่ชนชั้นสูง เรื่อยมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล จนถึงปัจจุบัน ยังคงปรากฏให้เห็นซึ่งสถานภาพที่เหลื่อมล้ำ ศิลปินจึงใช้ศิลปะเป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร เพื่อสะท้อน หรือเสียดสีประชดประชันสังคม และคนชนชั้นสูง หากแต่มองอีกแง่หนึ่ง รูปแบบของศิลปกรรมอันหรูหรา โอ่อ่า ในราชสำนักยังให้ความรู้สึกที่สอดคล้องกับทฤษฎีนี้ด้วย เพราะเสมือนเป็นสื่อในการประกาศศักดาความยิ่งใหญ่ ความเจริญของราชอาณาจักร รวมทั้งเพื่อเป็นการข่มขวัญศัตรูได้เช่นเดียวกัน นอกเหนือจากการนำศิลปะมาเป็นเครื่องมือสื่อสาร เพื่อตีแผ่ความจริงหรือเพื่อประกาศความเกรียงไกร เช่นข้างต้นแล้ว ยังมีการนำศิลปะไปเป็นเครื่องมือในทางการเมือง เช่นการโฆษณาชวนเชื่อ(Propaganda) ที่นิยมใช้ภาพถ่ายเป็นเครื่องมือ เพราะ มีคุณสมบัติที่สร้างความเชื่อถือให้กับผู้คนได้ดี สามารถแสดงความเหมือนจริงแทบทุกประการ คุณสมบัติพิเศษนี้ถูกนำมาทำบิดเบือน ตัดต่อ และปลอมแปลงได้อย่างเสมือนเรื่องจริงทีเดียว สิ่งเหล่านี้สะท้อนคำว่าเครื่องมือได้อย่างตรงไปตรงมาในบริบททางสังคม
ให้ผลในทางศาสนา เพื่อเป็นเครื่องมือในการโน้มน้าวจิตใจให้เกิดศรัทธา
สิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ เพื่อนำทางไปสู่ความดีงาม เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์มาเป็นเวลาช้านาน ความเชื่อทางศาสนา ทำให้เกิดผลงานศิลปะ ที่ให้ผลทางด้านจิตใจ ซึ่งตรงกับกรอบความคิดของทฤษฎีศิลปะคือเครื่องมือเช่นกัน ผลงานศิลปะที่รับใช้ความเชื่อ ปรากฎให้เห็นทั่วไป ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ทั้งในตะวันตก ตะวันออก และทั่วทั้งภูมิภาคของโลก มนุษย์เชื่อมโยงกับความศรัทธาไว้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ความเชื่อเรื่องเทพเจ้า มักสัมพันธ์กันกับธรรมชาติ แม้กระทั่งปรากฏการณ์ต่างๆ ก็ถูกเชื่อว่าเกิดจากการกระทำของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผลงานประเภทนี้จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงคุณความดีของเทพเจ้า ที่ดลให้เกิดฤดูกาล อันทำให้พืชผลเจริญงอกงาม หรือการนำไว้สักการะบูชา เป็นต้น ผลงานประเภทนี้จึงกระตุ้นให้คนเกิด ความรู้สึกประเสริฐบริสุทธิ์ขึ้นในใจ (Sublime)ความเชื่อเรื่องศาสนา ที่ยึดเหนี่ยว กระตุ้นจิตสำนึกด มิได้มีแต่เพียงชนชาติที่เจริญทางอารายธรรมเช่นทางฝั่งตะวันตกเท่านั้น อนารยะชน ต่างภูมิภาค ต่างก็มีความเชื่อ ความศรัทธาต่อเทพเจ้าของตน และมีพลังสร้างสรรค์ผลงานศิลปะอันน่าทึ่งตามแบบฉบับได้อย่างงดงาม
ศิลปะ หมายถึงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่เพียงจำกัดอยู่ในผลงาน ทัศนศิลป์อย่าง จิตรกรรม ประติมากรรม หรือสถาปัตยกรรม เท่านั้น ยังรวมไปถึง กวีนิพนธ์ งานประพันธ์ ดุริยางคศิลป์ นาฏดุริยางค์ นาฏกรรมต่างๆอีกด้วย ทางทฤษฎีศิลปะคือเครื่องมือ นักปรัชญา นักสุนทรียศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์หลายท่าน ได้ให้ความหมายกับศิลปะ ที่เข้าข่ายทฤษฎีนี้ รวมถึงพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ที่จุดประกายให้มนุษย์คำนึงถึงหลักความเป็นจริงมากขึ้น ก็ส่งผลทางความคิดให้กับทฤษฎีนี้เป็นอย่างมาก อาทิเช่น การถือกำเนิดขึ้นของลัทธิสัจนิยม ซึ่งเป็นลัทธิทางศิลปะ ที่วิวัฒนาการมากจากรูปแบบศิลปะ นีโอคลาสสิค และโรแมนติก อันเกิดจากผลพวงของเหตุการณ์ปฏิวัติฝรั่งเศส และการถือกำเนิดขึ้นของทฤษฎีวิวัฒนาการของนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ชาร์ลส์ ดาร์วิน ทฤษฎีการวิวัฒนาการโดยการคัดเลือกตามธรรมชาติ (Theory of Natural Section) ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากหนังสือ หลักธรณีวิทยา(Principle of Geology) ที่กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ชาร์ลส์ เห็นว่าหากโลกมีการเปลี่ยนแปลงได้ สิ่งมีชีวิตคงต้องมีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน เขาให้เหตุผลว่าสิ่งมีชีวิตมีการปรับตัวไปตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง เพื่อดำรงไว้ซึ่งเผ่าพันธุ์ ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับหลายเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นสายพันธุ์ใหม่ๆ สรุปคือ "สิ่งมีชีวิตหลากหลายสปีชีส์บนโลก มาจากการสืบทอดลักษณะที่เปลี่ยนไปของสปีชีส์ดึกดำบรรพ์ โดยกลไกที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คือ การคัดเลือกตามธรรมชาติและต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนาน" เขาเชื่อว่ามนุษย์เป็นสัตว์สายพันธุ์หนึ่ง ที่เกิดจากการวิวัฒนาการจากสัตว์ตระกูลลิง ด้วยความคิดของ ชาร์ลส์ในทฤษฎีวิวัฒนาการนี้เอง จึงทำให้เกิดการตั้งคำถามขึ้นว่า หากมนุษย์ทุกคนมีต้นกำเนิดจากสายพันธุ์ลิงเหมือนๆกัน ทำไมจึงเกิดการเหลื่อมล้ำทางสังคมและการแบ่งชนชั้นอย่างชัดเจน เป็นสาเหตุให้คนชนชั้นกลางและชนชั้นล่างลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อสิทธิของตน อันส่งผลสำคัญต่อการเมืองและรูปแบบลัทธิทางศิลปะ
ผลทางการเมืองและการเหลื่อมล้ำกันทางสังคม ก็เป็นส่วนหนึ่งซึ่งขับเคลื่อนพลังในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ นักคิด นักเขียน และนักเคลื่อนไหวทางการเมืองหลายท่านที่เห็นความสำคัญของศิลปะ และแสดงแนวคิด ทัศนคติที่นำมาสนับสนุนขอบข่ายของทฤษฎีดังกล่าว
ลีโอ ตอลสตอย นักคิด นักประพันธ์ชาวรั เซีย ที่ให้ความสำคัญกับศิลปะอย่างสูงส่ง เขาให้ความสนใจในเรื่องปัญหาสังคม ศีลธรรม จรรยา และให้ความเห็นเรื่องศิลปะในตอนหนึ่งของหนังสือ What is art? ว่า "ศิลปะไม่ใช่ความน่าพึงใจยินดี หากเป็นวิถีทางอันหนึ่งของการรวมมนุษย์เข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน ด้วยการเชื่อมโยงพวกเขาเข้าไว้ด้วยกัน ในอารมณ์ความรู้สึกอย่างเดียวกัน" ซึ่งน่าจะหมายความว่า ศิลปะคือเครื่องมือในการรวมกลุ่มคนบางกลุ่ม ให้มีความกลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียว และไม่ได้ทำเพื่อความพึงพอใจเฉพาะบุคคล หากแต่ทำเพื่อให้คนส่วนรวมได้รับประโยชน์ ก็เหมือนกับใช้ศิลปะเพื่อสะท้อนบางสิ่งบางอย่างในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ใช่คนชนชั้นสูง หนังสือเล่มนี้ถูกเขียนขึ้นในปี 1897 หรือเป็นช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่18 ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป และเกิดลัทธิสัจนิยมขึ้นแล้วในยุโรปช่วงประมาณคริสต์ทศวรรศที่ 1850 แนวความคิดของตอลสตอยนี้มีความใกล้เคียงกับศิลปะลัทธิสัจนิยม ซึ่งมุ่งเน้นการแสดงออกถึงสภาพความเป็นจริงของชนชั้นกรรมาชีพที่ทุกข์ยาก และกบฏต่อชนชั้นสูง ยังมีนักเคลื่อนไหวทางการเมืองคนสำคัญอีกหนึ่งท่านที่มีความคิดเห็นที่คล้ายคลึงกับตอลสตอย ในเรื่องความเหลื่อมล้ำกันทางชนชั้น เขาเป็นคนสำคัญทางการเมืองระดับโลก และต้นกำเนิดลัทธิมาร์กซิสม์ที่ให้แนวทางกับลัทธิคอมมิวนิสต์ คาร์ล มาร์กซ์ นักเคลื่อนไหว นักปฏิวัติการเมืองคนสำคัญแห่งเยอรมัน เขาเป็นทั้งนักปรัชญา นักข่าว นักหนังสือพิมพ์ นักเศรษฐศาสตร์การเมือง จากเหตุการณ์การปฏิวัติการค้าและอุตสาหกรรม ทำให้มาร์กซ์มองเห็นถึงระบบเศรษฐกิจที่ นายทุนจะควบคุม และผูกขาดการค้าการผลิต รวมทั้งปัจจัยการผลิต แต่ชนชั้นกรรมมาชีพที่ใช้แรงงานกลับถูกนายทุนกดขี่ เอารัดเอาเปรียบ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นแรงกระตุ้นให้มาร์กซ์ เกิดความคิดที่จะปฏิวัติสังคมเพื่อให้ผู้คนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และเกิดความเท่าเทียมกัน แต่นี่คือก้าวแรกที่จะนำไปสู่สังคมคอมมิวนิสต์ มาร์กซ์เห็นคุณค่าของศิลปะในเชิงประโยชน์ เขาเห็นว่าศิลปะคือปรากฏการณ์ทางสังคมจากเศรษฐกิจการเมือง และช่วยสะท้อนศิลปวัฒนธรรมในยุคสมัย ทำให้ในเวลาถัดมาเกิดการนำศิลปะเข้ามาเป็นเครื่องมือทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำศิลปะมาเป็นสื่อเพื่อโฆษณาชวนเชื่อให้ผู้คนคล้อยตาม รวมถึงเป็นการปลูกฝังให้มีความคิดเห็นที่ตรงกับผู้นำทางการเมือง ช่วงสงครามโลกครั้งที่1และ2
นักปรัชญาชาวเยอรมันอีกท่านหนึ่งที่มีกรอบความคิดที่ค่อนข้างใกล้เคียงกับทฤษฎีนี้ ในแง่ของความเชื่อทางศาสนา คือ อิมานูเอล คานต์ ผู้ให้ความสำคัญในการตัดสินงานศิลปะอันมีสุนทรียภาพ และความประเสริฐ(Sublime) ตามแบบโศกนาฏกรรมของกรีก ในแนวคิดเกี่ยวกับศิลปะของค้านต์มีดังต่อไปนี้


"คานต์ให้ความสำคัญกับศิลปะอยู่ที่ความพึงพอใจโดยมีด้วยกัน 3 แบบ คือ 1. ความพึงใจเกิด จากการเห็นพ้องด้วย 2. ความพึงพอใจที่เกิดจากความอิ่มเอมใจในการบรรลุความสุขสุดยอดใน ความดี และ 3. เป็นความพึงพอใจในความมีสุนทรีย์ โดยมีเงื่อนไขอีก 3 ประการคือ ความเป็น สากล, ความจำเป็น และความรู้สึกของบุคคลที่มีความต้องการในสิ่งนั้น"
จากความคิดเห็นข้างต้นของคานต์ เขามุ่งไปที่ความดีงามที่ศิลปะจะส่งผลที่ดีต่อจิตใจของมนุษย์โดยเฉพาะคนที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน จากข้อที่ 1. ความพึงใจเกิดจากการเห็นพ้องด้วย ทำให้จินตนาการไปถึง กลุ่มคนที่มีความเชื่อเดียวกัน มีความคิดเห็นที่ตรงกัน สอดคล้องกับศาสนาที่รวมคนในสังคมให้เป็นหนึ่ง และเป็นเบ้าหล่อให้เกิดความดีงามและซาบซึ้งภายในจิตใจ นอกจากนี้ค้านต์ยังมีความคิดแบบปฏิฐานนิยม ใช้วิทยาศาสตร์พิสูจน์ด้วยการวิเคราะห์ สังเคราะห์ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดของสัจนิยมที่มุ่งเน้นหาความจริงเช่นกัน
งานศิลปกรรมถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาตั้งแต่ครั้งยังโบราณกาล หลักความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธ์เป็นจุดสำคัญให้เกิดการสร้างสรรค์ขึ้น งานศิลปะที่ปรากฏตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สร้างความตื่นตะลึงให้กับคนในปัจจุบันเป็นอย่างมาก เนื่องจากยังไม่มีวิทยาการใดๆที่จะคอยมาสนับสนุนการสร้างผลงานที่ยิ่งใหญ่อย่างที่ปรากฏให้เห็นนี้ สิ่งหนึ่งที่เป็นตัวจุดประกายให้มนุษย์สมัยโบราณผลิตผลงานที่ยิ่งใหญ่นั่นคือศรัทธา มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีกระบวนการทางความคิดที่น่ามหัศจรรย์ มนุษย์เริ่มมีการสร้างสถาปัตยกรรมที่มีขนาดใหญ่โตตั้งยุคหิน เชื่อกันว่า สโตนเฮนจ์ (ภาพประกอบที่1) เป็นศาสนสถานในสมัยนั้น ที่มนุษย์ยุคหินใช้บูชาเทพเจ้า หรือประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เพราะถูกสร้างขึ้นอย่างมีกระบวนการ ด้วยระบบเสาและคาน ทั้งยังสอดคล้องกับระบบจักรวาล ดาราศาสตร์ จะเห็นว่าความศรัทธาเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์สร้างความยิ่งใหญ่อย่างน่าอัศจรรย์
ภาพประกอบที่1Stonehenge Amesbury, Wiltshireสหราชอาณาจักรภาพประกอบที่1Stonehenge Amesbury, Wiltshireสหราชอาณาจักร
ภาพประกอบที่1
Stonehenge Amesbury, Wiltshireสหราชอาณาจักร
ภาพประกอบที่1
Stonehenge Amesbury, Wiltshireสหราชอาณาจักร
ภาพประกอบที่2Addaura cave carving, Italyภาพประกอบที่2Addaura cave carving, Italy
ภาพประกอบที่2
Addaura cave carving, Italy
ภาพประกอบที่2
Addaura cave carving, Italy

นอกจากสถาปัตยกรรมดังกล่าวแล้ว มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ก็มีการสร้างงานศิลปกรรมประเภทอื่นๆ เพื่อตอบสนองความศรัทธาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก่อนที่มนุษย์ยุคหินจะออกมาสร้างบ้านเรือนไว้อยู่อาศัย ทำเกษตรกรรม เพาะปลูกนั้น ยังคงอาศัยกันอยู่ในถ้ำ ซึ่งมักพบภาพจิตรกรรมฝาผนังถ้ำที่แสดงเรื่องราวเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องพิธีกรรมอยู่บ่อยครั้ง(ภาพประกอบที่2) ประติมากรรมรูปเคารพที่ถูกสลักขึ้นมักจะมีลักษณะบ่งบอกถึงความเป็นเพศหญิงอย่างชัดเจน แสดงให้เห็นถึงความเคารพต่อธรรมชาติเพราะเพศหญิงถือเป็นเพศผู้สร้าง ผู้ให้กำเนิด และใกล้เคียงกับพืชผลที่ผลิดอกออกผล ให้ผลผลิตเพื่อเป็นอาหาร ประติมากรรมเหล่านี้จึงถูกสร้างขึ้นให้มีลักษณะที่อวบอ้วน สมบูรณ์ เช่น Venus of Willendorf, Venus of Luassel เป็นต้น (ภาพประกอบที่ 3, 4)




ภาพประกอบที่3ภาพประกอบที่3ภาพประกอบที่4ภาพประกอบที่4ภาพประกอบที่5ภาพประกอบที่5ภาพประกอบที่6ภาพประกอบที่6
ภาพประกอบที่3
ภาพประกอบที่3
ภาพประกอบที่4
ภาพประกอบที่4
ภาพประกอบที่5
ภาพประกอบที่5
ภาพประกอบที่6
ภาพประกอบที่6


ประติมากรรมเพศหญิงนี้ ยังไปปรากฏอยู่ในรูปแบบศิลปกรรม แถบอารยธรรมหมู่เกาะไซคลาดิก ในทะเลอีเจียน ซึ่ง "มีความนิยมบูชาเทพี (Female deities)(ภาพประกอบที่5, 6) โดยเฉพาะเทพีผู้ประทานความอุดมสมบูรณ์ (Fertility Goddess)" อารยธรรมของพวกมิโนอัน ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองคนอสซอส บนเกาะครีตยังพบประติมากรรมเทพีเพศหญิงเช่นกัน (ภาพประกอบที่7)


ภาพประกอบที่7 snake goddess, Minoanภาพประกอบที่7 snake goddess, Minoanศาสนสถาน วิหาร คือ สถาปัตยกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือถ่ายทอดความศรัทธาแห่งพิธีกรรมศักดิ์สิทธ์แก่มนุษย์ เพื่อให้เกิดความปิติยินดี จากการบูชา เคารพ สักการะ รูปแบบสถาปัตยกรรมเพื่อสนับสนุนความเชื่อ มักจะมีสัญลักษณ์และความหมายที่แอบแฝงซ่อนเร้นอยู่ภายในรายละเอียดอันวิจิตรงดงาม รวมถึงแสดงออกถึงพลังศรัทธาอย่างมหาศาลโดยการ บันดาลสร้างให้มีความยิ่งใหญ่อลังการ ชาวอียิปต์นับถือเทพเจ้าเป็นอย่างมาก และเชื่อว่าเทพเจ้าเหล่านั้นสถิตย์อยู่เหนือดอกบัว
ภาพประกอบที่7 snake goddess, Minoan
ภาพประกอบที่7 snake goddess, Minoan
ทั้งยังเชื่อว่าเทพเจ้าฮอรัสซึ่งเป็นตัวแทนขององค์ฟาโรห์ขณะยังมีพระชนม์ชีพ และเทพแห่งท้องฟ้าถือกำเนิดขึ้นจากดอกบัวด้วย จึงมีการสร้างวิหารโดยการจำลองเสาเลียนแบบกอบัวเรียงรายกันอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งบัวตูม บัวบาน เพื่อเป็นตัวแทนแห่งสถานที่สิงสถิตย์ของเหล่าทวยเทพ เช่นในวิหาร คาร์นัก และ ลักซอร์ (ภาพประกอบที่8)
ความเชื่อเรื่องเทพปกรณัมยังสามารถเชื่อมโยงกับความสัมพันธ์ทางการเมืองของรัฐต่างๆ สถาปัตยกรรมไม่ได้มีไว้เพียงเพื่อตอบสนองต่อศรัทธาอันแรงกล้า แต่ก็ใช้สำหรับเป็นเครื่องมือทางการเมือง ในการประกาศศักดาความยิ่งใหญ่ รวมถึงความเจริญก้าวหน้าของอาณาจักรได้เป็นอย่างดี ชาวกรีกมีความเชื่อในเรื่องความงามอันอุดมคติแห่งเทพเจ้า อะโครโพลิสอันโอ่อ่าเป็นการจำลองเขาโปลิมปัสซึ่งเป็นที่อยู่ของเหล่าทวยเทพ(ภาพประกอบที่9) ชาวกรีกมีวิทยาการความรู้ที่เจริญก้าวล้ำ ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ ปรัชญา สะท้อนความเป็นปัญญาชนของชาวกรีก สถาปัตยกรรมทั้งหลายนั้นเกิดขึ้นมาจากการคำนวน กลั่นกรองมาอย่างดี เช่นมหาวิหารพาร์เทนอน ที่ใช้ทฤษฎีอัตราส่วนทองคำ(Golden Section) มาใช้เป็นมาตรวัดความงามอันพิสูจน์ได้ทางคณิตศาสตร์ ศาสนสถานเหล่านี้ตอบสนองทั้งทางด้านศรัทธาและผลทางการเมือง


ภาพประกอบที่9 Acropolis Modelภาพประกอบที่9 Acropolis Modelภาพประกอบที่8 Luxor Temple, Egyptภาพประกอบที่8 Luxor Temple, Egypt
ภาพประกอบที่9 Acropolis Model
ภาพประกอบที่9 Acropolis Model
ภาพประกอบที่8 Luxor Temple, Egypt
ภาพประกอบที่8 Luxor Temple, Egypt
โรมันเป็นอาณาจักรที่ถือว่าใช้ศิลปะมาเป็นเครื่องมือทางการเมืองอย่างแท้จริง ทั้งการสร้างสถานที่สาธารณะต่างๆเพื่อประชาชน สร้างความสะดวกสบายให้กับคนในอาณาจักร นโยบายเพื่อคนในรัฐทำให้ประชาชนรักใคร่สนับสนุนรัฐบาล ความคิดที่จะสร้างความยิ่งใหญ่เหนืออาณาจักรอื่นใดด้วยการสร้างสถาปัตยกรรมอันโอฬารของโรมัน เด่นชัดกว่ากรีกมาก ชาวโรมันไม่ได้ทำเพื่อเทพเจ้าเท่ากับชาวกรีก แต่มุ่งเน้นการทำเพื่อตอบสนองตนเองเสียเป็นส่วนใหญ่ ทั้งการสร้างโรงอุปรากรที่มีขนาดใหญ่มหึมาอย่างโคลอสเซียม(ภาพประกอบที่10) ที่จุคนได้ถึง50,000คน จัดแสดงอุปรากร รวมถึงแสดงการต่อสู้ ห้ำหั่นกันอย่างโหดเหี้ยมเพื่อตอบสนองความสุขของจักรพรรดิ์และคนในรัฐ ด้านงานประติมากรรมถูกสร้างขึ้นเพื่อเชิดชูนักรบและองค์จักรพรรดิ์ ด้วยการสร้างอนุสาวรีย์ที่น่ายำเกรง(ภาพประกอบที่11, 12) รวมถึงประตูชัยเพื่อประกาศชัยชนะสงครามเป็นการข่มขวัญศัตรูและเชิดชูวีรบุรุษซึ่งใกล้เคียงกับความคิดของชาวกรีกอยู่เช่นกัน(ภาพประกอบที่13)
ภาพประกอบที่11Macus Aureliusภาพประกอบที่11Macus Aurelius
ภาพประกอบที่11
Macus Aurelius
ภาพประกอบที่11
Macus Aurelius



ภาพประกอบที่10 Colosseumภาพประกอบที่10 Colosseum
ภาพประกอบที่10 Colosseum
ภาพประกอบที่10 Colosseum

ภาพประกอบที่12Augustus Caesarภาพประกอบที่12Augustus Caesar
ภาพประกอบที่12
Augustus Caesar
ภาพประกอบที่12
Augustus Caesar




ภาพประกอบที่13 Arch of Constantineภาพประกอบที่13 Arch of Constantine
ภาพประกอบที่13 Arch of Constantine
ภาพประกอบที่13 Arch of Constantine
ภาพประกอบที่15 Hagia Sophirภาพประกอบที่15 Hagia Sophirภาพประกอบที่14ภาพประกอบที่14ศิลปะในยุคกลางที่ถูกขนานนามว่าเป็นยุคมืดแห่งพุทธิปัญญา กลับหลายเป็นยุคแห่งความศรัทธาของชาวคริสตศาสนิกชน ศิลปกรรมในยุคนี้ได้ลดทอนความเหมือนจริงแทบหมดสิ้นไปและไม่คำนึงถึงหลักความถูกต้องทางกายวิภาค เพราะชาวคริสเตียนเชื่อว่าพระเจ้าไม่ได้มีร่างกายเฉกเช่นเดียวกับมนุษย์ มนุษย์นั้นต่ำต้อยเกินกว่าที่จะมีกายภาพเช่นพระเจ้า ด้วยเหตุนี้งานศิลปะในยุคนี้จึงเต็มไปด้วยสัญลักษณ์(ภาพประกอบที่14) ภาพบุคคลสำคัญจะต้องมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับองค์ประกอบอื่นๆคล้ายกับศิลปะของอียิปต์ที่ให้ความสำคัญกับองค์ฟาโรห์ สถาปัตยกรรมในยุคไบเซนไทน์ให้ความสำคัญกับการเจาะช่องแสง เพื่อให้แสงสาดเข้ามายังศาสนสถาน แสงถือเป็นสัญลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งซึ่งเป็นตัวแทนของความศักดิ์สิทธิ์แห่งพระเจ้า วิหารฮาเกียโซเฟีย(ภาพประกอบที่15) จะถูกประดับประดาไปด้วยโมเสคสีทอง เมื่อกระทบกับแสงแดดที่ส่องเข้ามาภายในสถาปัตยกรรม จะเกิดแสงสีทองอร่าม ระยิบระยับ เกิดการปะทะทางจิตใจของคริสตศาสนิกชนให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในศาสนา
ภาพประกอบที่15 Hagia Sophir
ภาพประกอบที่15 Hagia Sophir
ภาพประกอบที่14
ภาพประกอบที่14
ประติมากรรมนูนสูงประดับหน้าจั่วของโรมาเนสก์เป็นตัวอย่างที่ดี ให้เห็นถึงการจัดวางองค์ประกอบที่ให้ความสำคัญกับภาพพระบุตร ภาพนี้คือภาพพระเยซูคริสต์ ทรงลงมาพิพากษามนุษย์ อยู่ที่หน้าจั่วซุ้มประตูใหญ่ ทางเข้าโบสถ์คาเทดรัล เมืองอูตุนประเทศฝรั่งเศส (ภาพประกอบที่16)




ภาพประกอบที่16ภาพประกอบที่16
ภาพประกอบที่16

ภาพประกอบที่16

สถาปัตยกรรมในยุคกอธิค ถือว่าเป็นที่สุดแห่งสถาปัตยกรรมยุคกลางก็ว่าได้ สถาปัตยกรรมยุคนี้มีความคิดที่อยากจะเข้าไปใกล้ชิดกับพระเจ้าให้ได้มากที่สุด จึงทำการสร้างโบสถ์ให้มีสูงชลูดและมียอดแหลม ยิ่งสูงมากเท่าไหร่ ก็ใกล้ชิดกับพระเจ้ามากขึ้นเท่านั้น โบสถ์ในสมัยนี้มีความซับซ้อนทางด้านระบบวิศวกรรม ให้ความสำคัญกับโครงสร้างตัวอาคารเป็นอย่างมาก เรื่องของแสงก็ยังเป็นสัญลักษณ์แห่งพระผู้เป็นเจ้าและความศรัทธา สถาปัตยกรรมในยุคนี้จึงเจาะช่องหน้าต่างบรรจุกระจกสีเข้าไปกับตัวอาคาร




ภาพประกอบที่18 Notre-Dameภาพประกอบที่18 Notre-Dameภาพประกอบที่17ภาพประกอบที่17
ภาพประกอบที่18 Notre-Dame

ภาพประกอบที่18 Notre-Dame

ภาพประกอบที่17

ภาพประกอบที่17

อาคารจะมีความสูงโปร่งและรับน้ำหนักด้วยครีบค้ำยันFlying Buttress(ภาพประกอบที่17) เมื่อแสงแดดสาดเข้ามากระทบกับกระจกสีที่มีการเขียนลวดลาย จะส่องแสงหลากสีสันสวยงาม โดยส่วนมากจะเป็นภาพจากพระคัมภีร์ ภาพนักบุญต่าง และที่เป็นเอกลักษณ์สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ หน้าต่างกุหลาบ (Rose Window) จากมหาวิหารนอร์ทเตอร์ดัมน์ (ภาพประกอบที่19)
ภาพประกอบที่19ภาพประกอบที่19
ภาพประกอบที่19

ภาพประกอบที่19



ภาพประกอบที่18ภาพประกอบที่18
ภาพประกอบที่18

ภาพประกอบที่18



จะเห็นว่าระบบการปกครองทางสังคมตั้งแต่ครั้งโบราณกาล จะให้ความสำคัญกับชนชั้นสูงและชนชั้นผู้นำมากกว่าชนชั้นล่างเสมอ งานศิลปะที่ผ่านๆมาก็ตอบสนองต่อคนในชนชั้นผู้นำ ทั้งรูปแบบ เนื้อ าเรื่องราวที่แสดงออก ความหรูหราฟู่ฟ่าและใช้ชีวิตอย่างฟุ่มเฟือยของราชสำนัก ทำเกิดการรวมกลุ่มของชนชั้นกลางในการเรียกร้อง รวมทั้งประณามการกระทำของชนชั้นปกครองที่มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างสุขสบายแต่กลับปล่อยให้ประชาชนอยู่อย่างยากลำบาก จึงเกิดการล้มล้างระบอบสมบูรณายาสิทธิราชขึ้นในประเทศฝรั่งเศสขึ้นในปี 1789-1799 หรือที่เรียกว่าการปฏิวัติฝรั่งเศสนั่นเอง ในระหว่างการต่อสู้ของชนประชาชนเพื่อต่อต้านราชสำนัก ได้เกิดเหตุการณ์สะเทือนใจขึ้นหลายอย่าง เช่นการใช้กำลังทหารเข่นฆ่าประชาชน ทำให้ผู้คนลุกฮือขึ้นมาต่อสู้กับกำลังทหารของราชสำนัก หลังจากล้มล้างระบอบกษัตริย์ในฝรั่งเศสได้สำเร็จ ชนชั้นกลางก็ขึ้นมามีอำนาจบทบาทมากขึ้น เชื่อมโยงไปถึงการเถลิงอำนาจของนโปเลียน โบนาปาร์ตที่สถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิ์ นั่นหมายความว่าความเหลื่อมล้ำทางสถาพภาพทางสังคมก็ยังไม่หมดไป นโปเลียนแผ่ขยายอำนาจออกไปและเข้ายึดครองสเปน ทำให้ประชาชนชาวสเปนลุกฮือขึ้นต่อต้านการยึดอำนาจของนโปเลียน โบนาปาร์ต ทำให้เกิดเหตุการณ์ประหารหมู่ประชาชนชาวสเปนอย่างน่าสยดสยอง จากเหตุการณ์ดังกล่าวได้ทำให้ศิลปินรู้สึกสะเทือนใจอย่างมากกับความโหดร้ายของกองทัพนโปเลียนจึงเกิดภาพเขียน The Third of May (ภาพประกอบที่) ของโกย่าขึ้นซึ่งถูกเขียนหลังจากเหตุการณ์จบลงในปี 1814 เป็นช่วงที่ศิลปินนิยมเขียนภาพความสะเทือนใจจากเหตุการณ์ต่างๆหรืออยู่ในช่วงลัทธิโรแมนติก(Romanticism)ที่มุ่งเน้นการแสดงความสะเทือนอารมณ์อย่างรุนแรง ไม่ได้มุ่งเน้นการตอบสนองต่อชนชั้นสูงอีกต่อไปแล้ว






ภาพประกอบที่20 The Third of May, Francisco De Goyaภาพประกอบที่20 The Third of May, Francisco De Goya
ภาพประกอบที่20 The Third of May, Francisco De Goya

ภาพประกอบที่20 The Third of May, Francisco De Goya

เมื่อศิลปินเริ่มเห็นความสำคัญกับชนชั้นล่างและผู้ถูกกระทำมากขึ้น รวมถึงความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม จึงทำให้เกิดลัทธิสัจนิยมขึ้นในเวลาต่อมา การเกิดขึ้นของลัทธิดังกล่าว มีส่วนมาจากความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม การขนส่ง และวิทยาศาสตร์ ซึ่งนำพาผู้คนเข้าสู่หลักการเหตุ-ผลที่แสวงหาความจริงที่พิสูจน์ได้ ไม่ฟุ้งเฟ้อไปกับความหรูหราจอมปลอม รูปแบบงานศิลปะจึงหันไปสนใจกับคนชนชั้นกรรมาชีพ ชาวนา และผู้ใช้แรงงาน ภาพเขียนส่วนใหญ่ถ่ายทอดภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่มีอยู่จริงในสังคม สะท้อนความอดสู ความโหดร้ายของการดำรงชีวิตอย่างลำบาก นอกจากภาพเขียนเหล่านี้ ยังมีภาพการ์ตูนล้อเลียนให้เห็นอีกด้วย ส่วนมากเป็นภาพเสียดสีประชดประชันวงสังคมชั้นสูง และพระมหากษัตริย์ เช่นภาพพิมพ์หินLithograph ของโดมิเยร์ (Honore Daumier) ที่ชื่อว่า Gargantua (ภาพประกอบที่) เป็นภาพเสียดสีระบบการเก็บส่วยภาษีของเจ้าของที่ดินต่อชาวนาที่อาศัยในที่ดินของตน โดยมีภาพยักษ์พระเจ้าหลุยส์ฟิลิปป์ นั่งบนเก้าอี้โดยมีไม้พาดจากพื้นขึ้นไปสู่ปาก และมีแรงงานเดินแบกหามส่วยผลผลิตขึ้นไปยังปากของพระเจ้าหลุยส์ที่นั่งขาลีบเล็กแต่มีกายที่อ้วนท้วนสมบูรณ์ จากการไม่ทำอะไรนอกจากนั่งรอภาษีจากชาวนาเท่านั้น ภาพของโดมิเยที่มีชื่อเสียงอีกภาพหนึ่งคือ ภาพรถไฟชั้นสามเป็นการถ่ายทอดความแออัดยัดเยียดในการเดินทางของชนชั้นล่าง ความสกปรกในขบวนรถไฟราคาถูก (ภาพประกอบที่)


ภาพประกอบที่21 Gargantua, Honore Daumierภาพประกอบที่21 Gargantua, Honore Daumier
ภาพประกอบที่21
Gargantua, Honore Daumier

ภาพประกอบที่21
Gargantua, Honore Daumier






ภาพประกอบที่21 The Third Class Carriage ภาพประกอบที่21 The Third Class Carriage
ภาพประกอบที่21
The Third Class Carriage

ภาพประกอบที่21
The Third Class Carriage


ฌอง ฟรองซัวร์ มีเล่ต์(Jean Francois Millet) เป็นศิลปินที่มีผลงานโดดเด่นในลัทธิสัจนิยมนี้ด้วย เขามุ่งเน้นการเขียนวิถีความเป็นจริงของสามัญชน ชีวิตของชาวนานในชนบท การทำเกษตรกรรมของชาวนา บรรยากาศภายในภาพเขียนของเขาได้อิทธิพลมาจากศิลปินกลุ่มบาบิซง ที่มุ่งเน้นการเขียนภาพธรรมชาติ The Gleaners (ภาพประกอบที่)แสดงภาพของสาวชาวนากลุ่มหนึ่งที่กำลังก้มเก็บเมล็ดข้าวที่ร่วงหล่นลงพื้น บ่งบอกถึงชีวิตที่แสนขัดสน แสดงถึงการเห็นคุณค่าของผลผลิตที่ตนสร้างขึ้นมาอย่างตรากตรำลำบาก งานศิลปะในลัทธินี้ เผยให้เห็นคุณค่าของชีวิตและความน่าเห็นใจของชนชั้นกรรมาชีพที่มีชีวิตอยู่อย่างแร้นแค้น ถูกกดขี่จากนายทุน หรือคนที่อยู่ในชนชั้นสูงกว่า



ภาพประกอบที่22 Jean Francois MilletTheGleanersภาพประกอบที่22 Jean Francois MilletTheGleaners
ภาพประกอบที่22
Jean Francois Millet
TheGleaners

ภาพประกอบที่22
Jean Francois Millet
TheGleaners





ภาพประกอบที่22 Jean Francois MilletNoonday Restภาพประกอบที่22 Jean Francois MilletNoonday Rest
ภาพประกอบที่22
Jean Francois Millet
Noonday Rest

ภาพประกอบที่22
Jean Francois Millet
Noonday Rest



ศิลปะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือตลอดทุกช่วงสมัย เพราะเหตุการณ์ทางสังคมมีส่วนทำให้ศิลปะดำเนินต่อไป ศิลปะถูกนำมาใช้เป็นสื่อสำหรับการโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองอยู่บ่อยครั้ง มันสามารถเป็นเครื่องมือชั้นยอดที่สร้างความยั่วยุ และส่งผลกระทบต่อสังคมการเมืองอย่างรุนแรง โดยเฉพาะศิลปะภาพถ่ายที่มีคุณสมบัติเหมือนจริงทำให้ผู้คนคิดว่าภาพที่ออกมาเป็นเรื่องจริง ด้วยวิธีการตัดต่อรูปภาพแบบ Photomontage ของกลุ่ม ดาด้า ส มารถสร้างภาพที่บิดเบือนจากความเป็นจริงได้อย่างแนบเนียน Photomontage ของดาด้ามักจะแสดงออกทางการเมือง และถูกใช้เป็นโปสเตอร์ ปกหนังสือ หรือภาพประกอบโฆษณาเสียมาก
จอห์น ฮาร์ดฟีลด์ (John Heartfield) ศิลปินชาวเยอรมันที่ ถือว่าเป็นศิลปินผู้บุกเบิกในการใช้ศิลปะในฐานะเป็นอาวุธทางการเมือง การตัดต่อภาพของเขากลายเป็นคำวิพากษ์วิจารณ์ และถ้อยแถลงการณ์ต่อต้านนาซี และ ฟาสซิสต์ ผลงานของเขาจัดอยู่ในกลุ่มของดาด้าเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ท่านผู้นำพรรคนาซี ภาพ Hitler Salute: Little man asks for big gifts. Motto: Millions Stand Behind Me! (ภาพประกอบที่) เป็นภาพที่เยาะเย้ยนาซีว่ามีผู้มีอิทธิพลเหนือกว่าอยู่เบื้องหลังคอยบงการฮิตเลอร์ให้ทำตามคำบัญชา วิธีการแบบPhotomontage ยังมีศิลปินที่ให้ความสนใจนำมาทำเป็นงานศิลปะจำนวนมาก อีกหนึ่งท่านที่มีผลงานในเชิงวิพากษ์วิจารณ์สังคมรวมถึงสร้างงานเพราะเกิดจากผลกระทบทางสงคราม คือ ราวล์ ฮัสแมน(Raoul Hausmann) โปสเตอร์การโฆษณาทางการเมืองมีให้เห็นอยู่มากมายในสังคมช่วงสงคราม ส่วนใหญ่เป็นการชักจูงให้เข้าสมัครเป็นทหาร และชี้นำให้เห็นถึงประโยชน์ของการสงคราม ซึ่งถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อหวังผลตอบแทนอันตรงกับทฤษฎี ศิลปะคือเครื่องมือที่ให้ผลในทางปฏิบัติ






ภาพประกอบที่24 Tatlin Lives at Home, Raoul Hausmannภาพประกอบที่24 Tatlin Lives at Home, Raoul Hausmannภาพประกอบที่25ภาพประกอบที่25ภาพประกอบที่23ภาพประกอบที่23
ภาพประกอบที่24 Tatlin Lives at Home, Raoul Hausmann


ภาพประกอบที่24 Tatlin Lives at Home, Raoul Hausmann


ภาพประกอบที่25

ภาพประกอบที่25

ภาพประกอบที่23

ภาพประกอบที่23

ทฤษฎีศิลปะคือเครื่องมืออาจระบุได้ว่าสามารถใช้ได้กับทุกช่วงเวลาที่ผ่านมาของประวิติศาสตร์ของมนุษยชาติ ความเป็นมาของศิลปะตั้งแต่ยุคโบราณมีส่วนสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือและ ตอบสนองความต้องการของคนตามยุคสมัย ทั้งยังเชื่อมโยงเรื่องความศรัทธาทางศานา เกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองในแต่ละยุค ศิลปะจึงเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมมาเป็นเวลาช้านาน เพราะศิลปะเป็นตัวถ่ายทอดบริบททางสังคมอยู่ตลอดเวลา ในเวลาเดียวกันสังคมก็เป็นส่วนผลักดันให้เกิดปรากฏการณ์ทางศิลปะเช่นกัน








Lihat lebih banyak...

Comentários

Copyright © 2017 DADOSPDF Inc.