CAR-Contents

June 8, 2017 | Autor: ค. ปลอยภัยชัวร์ | Categoria: Classroom Action Research
Share Embed


Descrição do Produto

หัวข้อวิจัย
การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/15
โรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ (Role play)

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาวิจัย
ทักษะการพูดภาษาอังกฤษเป็นทักษะที่สำคัญในการสื่อความหมาย การถ่ายทอดความคิด
และการติดต่อสื่อสาร
จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการส่งเสริมและพัฒนาสำหรับนักเรียนทุกคนโดยเฉพาะนักเรียนที่เรียนวิชา
ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นวิชาทักษะที่ต้องอาศัยการฝึกฝนและปฏิบัติเพื่อพัฒนาความรู้อยู่อย่างสม่ำเสมอ
แต่จากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนพบว่า
นักเรียนส่วนใหญ่ พูดภาษาอังกฤษไม่ได้
ไม่กล้าพูดหรืออายที่จะออกเสียงเพราะกลัวออกเสียงผิดหรือกังวลว่าผิดโครงสร้างทางไวยากรณ์
ทำให้นักเรียนไม่ได้ฝึกทักษะการปฏิบัติและรับประสบการณ์ตรงจากการเรียน
บรรยากาศในห้องเรียนไม่สนุกสนาน ขาดความร่วมมือในการทำกิจกรรม
และส่งผลให้นักเรียนมีเจตคติที่ไม่ดีต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษต่อไป
สภาพดังกล่าวเกิดขึ้นกับนักเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/15 โรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา
ที่ผู้วิจัยต้องรับผิดชอบ โดยนักเรียนมีทักษะการพูดภาษาอังกฤษอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างต่ำ
ซึ่งมีประเด็นที่สนใจศึกษามีหลายประการ เช่น ทำไมนักเรียนจึงไม่กล้าพูดภาษาอังกฤษ
การใช้กิจกรรมบทบาทสมมติมีผลต่อการพัฒนาทักษะการพูดของนักเรียนหรือไม่ อย่างไร
และการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติช่วยเสริมสร้างบรรยากาศในให้ห้องเรียนสนุกสนาน
ช่วยฝึกฝนทักษะการปฏิบัติและทำให้มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษได้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด
การที่นักเรียนกล้าพูดภาษาอังกฤษ ช่วยทำให้นักเรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง
เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กล้าคิดกล้าแสดงออก กล้าเข้าร่วมกิจกรรม ได้รับการยอมรับจากเพื่อน
สามารถบูรณาการความรู้จากการเรียนภาษาอังกฤษกับวิชาอื่นและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำว
ันได้




คำถามวิจัย

นักเรียนมีทักษะการพูดภาษาอังกฤษเป็นอย่างไรหลังจากที่ครูใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ

กรอบความความคิดของการวิจัย












วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ
2. เพื่อศึกษากิจกรรมบทบาทสมมติ ที่มีผลต่อทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียน

ตัวแปรในการวิจัย
1. ตัวแปรต้น คือ กิจกรรมบทบาทสมมติ (Role Play)
2. ตัวแปรตาม คือ ทักษะการพูดภาษาอังกฤษ




ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ ทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ
ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนกล้าที่จะพูดภาษาอังกฤษ
กระตือรือร้นและสนใจเข้าร่วมกิจกรรมประกอบการเรียนการสอน นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรง
มีความสามัคคีในชั้นเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
และส่งผลให้นักเรียนมีทักษะการพูดภาษาอังกฤษอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้น
ทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียน
นักเรียนสามารถบูรณาการความรู้จากการเรียนภาษาอังกฤษกับวิชาอื่น
และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง โดยใช้แบบประเมินทักษะการพูดภาษาอังกฤษ
เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อศึกษาผลของการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ
ที่มีต่อการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/15 โรงเรียน
ศรีธรรมราชศึกษา ที่เรียนวิชา อ 21101 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555
จำนวน 33 คน โดยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอนตังต่อไปนี้
1.ขั้นศึกษาข้อมูลพื้นฐาน

จากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียน นักเรียนส่วนใหญ่
พูดภาษาอังกฤษไม่ได้
ไม่กล้าพูดหรืออายที่จะออกเสียงเพราะกลัวออกเสียงผิดหรือกังวลว่าผิดโครงสร้างทางไวยากรณ์
เมื่อให้พูดออกเสียงก็มักออกเสียงผิด ขาดความมั่นใจในการออกเสียง
ต้องให้เพื่อนหรือครูออกเสียงให้ฟังหรือออกเสียงพร้อมกัน และเมื่อให้พูดสนทนาโต้ตอบกัน
นักเรียนส่วนใหญ่เรียบเรียงคำในระดับประโยคไม่ถูกต้อง
สื่อสารผิดความหมายและไม่ถูกต้องตรงตามคำถาม ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนไม่สนุกสนาน
ขาดความร่วมมือในการทำกิจกรรม นักเรียนไม่ได้รับประสบการณ์ตรงจากการทำกิจกรรม
และสุดท้ายส่งผลให้ทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
2.ขั้นออกแบบและสร้างเครื่องมือ
จากข้อมูลที่ได้จากการสังเกต
ผู้วิจัยได้เห็นว่าการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติสามารถช่วยพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนให้อยู่ใ
นเกณฑ์ที่ดีขึ้นได้ ผู้วิจัยจึงออกแบบกิจกรรมบทบาทสมมติ เรื่อง การสนทนาเกี่ยวกับอาชีพและการทำงาน
(Talking about Careers and Jobs) โดยมีทั้งเนื้อหาคำศัพท์ ตัวอย่างประโยค และบทสนทนา
รวมทั้งให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันคิดสถานการณ์สมมติด้วยตนเองอีกหนึ่งกิจกรรม
ซึ่งเป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งในบทเรียน Unit 7
Glory Days ในหนังสือเรียน Access 1 ภาษาอังกฤษพื้นฐานชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
3.ขั้นดำเนินการใช้เครื่องมือ
ในขั้นการดำเนินการใช้เครื่องมือ ผู้วิจัยได้นำเอากิจกรรมบทบาทสมมติ เรื่อง
การสนทนาเกี่ยวกับอาชีพและการทำงาน (Talking about Careers and Jobs)
มาเป็นตัวอย่างให้นักเรียนทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ
รวมทั้งให้นักเรียนแต่กันช่วยกันคิดสร้างสรรค์สถานการณ์สมมติด้วยตนเองอีกหนึ่งกิจกรรมในคาบเรียนสุดท้า
ยของการทำการวิจัย
ในการทำกิจกรรมให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มๆละ 3-4 คน
โดยใช้วิธีการให้นักเรียนจับฉลากในการแบ่งกลุ่ม จากนั้นก็มีการศึกษาเนื้อหาบทบาทสมมติทีละเรื่อง
ทั้งคำศัพท์ ตัวอย่างประโยค และบทสนทนาสถานการณ์ต่างๆ พร้อมกัน
จากนั้นให้แต่ละกลุ่มนั่งแยกเป็นกลุ่มๆ รับสถานการณ์ไปช่วยกันศึกษา ฝึกอ่านออกเสียง และสนทนา
แล้วให้แบ่ง หน้าที่รับผิดชอบบทบาทสมมติตามสถานการณ์ต่างๆ โดยให้เวลาประมาณ 20 นาที
จากนั้นก็ให้แต่ละกลุ่มจับฉลากลำดับที่การแสดง
แล้วให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอในรูปแบบที่ตนสร้างสรรค์กลุ่มละไม่เกิน 10 นาที
4. ขั้นวิเคราะห์ผล
มีการวิเคราะห์ผล โดยการเปรียบเทียบผลการประเมินทักษะการพูดภาษาอังกฤษ
ก่อนและหลังการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ โดยการวิเคราะห์ข้อมูล
ดำเนินการหาค่าสถิติจากคะแนนการประเมินกิจกรรมของกลุ่มตัวอย่าง เพื่อหาค่าเฉลี่ย ( x̅ )
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( SD ) และค่า t-test แบบ dependent
ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows









สถิติวิเคราะห์ข้อมูล
1.หาค่าเฉลี่ย (X̅) โดยใช้สูตร

X =

n


เมื่อ X แทน ค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง
(x แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมดของกลุ่ม
n แทน จำนวนของคะแนนในกลุ่ม

2. ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยใช้สูตร


S.D. = ((X - X) 2

n – 1

เมื่อ S.D. แทน ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
X แทน ค่าคะแนนของแต่ละคน
แทน ค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง
n แทน จำนวนตัวอย่าง
( แทน ผลรวม













3. สถิติ t-test แบบ dependent sample test โดยใช้สูตร




df = n-1


เมื่อ D แทน ความแตกต่างระหว่างคะแนนแต่ละคู่
N แทน จำนวนคู่
df แทน ความเป็นอิสระที่มีค่าเท่ากับ N-1

กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/15 โรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา ที่เรียนวิชา อ 21101
ภาษาอังกฤษพื้นฐาน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 33 คน

เครื่องมือวิจัย
1. แบบฝึกทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมบทบทสมมติ
2. แบบประเมินทักษะการพูดภาษาอังกฤษ

การเก็บรวบรวมข้อมูล
เก็บรวบรวมข้อมูล
โดยผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากการสังเกตและบันทึกคะแนนทักษะการพูดลงในแบบบันทึกคะแนนทักษะการพูดภาษาอ
ังกฤษก่อนและหลังการทำกิจกรรมบทบาทสมมติของนักเรียน
โดยผู้ประเมินให้ระดับความสามารถด้านทักษะการพูดภาษาอังกฤษ 30 คะแนน
ซึ่งแบ่งเป็นด้านความคล่องแคล่วของการใช้ภาษา (Fluency) 10 คะแนน
ความถูกต้องของการใช้ภาษา (Accuracy) 10 คะแนน และด้านประสิทธิภาพของการสื่อสาร
(Comprehension) 10 คะแนน
รวม 30 คะแนน โดยใช้เวลาเก็บรวมรวมข้อมูลและทดลองในคาบเรียนวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน
3 คาบต่อสัปดาห์ คาบละ 50 นาที รวมจำนวนทั้งหมด 9 คาบ โดยเริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 26
พฤศจิกายน ถึงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยครั้งนี้ มีการเปรียบเทียบผลการประเมินทักษะการพูดภาษาอังกฤษ
ก่อนและหลังการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ โดยการวิเคราะห์ข้อมูล
ดำเนินการหาค่าสถิติจากคะแนนการประเมินกิจกรรมของกลุ่มตัวอย่าง เพื่อหาค่าเฉลี่ย ( x̅ )
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D. ) และค่า t-test แบบ dependent
ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows

ผลการวิจัย
ผลการประเมินความสามารถด้านทักษะการพูดภาษาอังกฤษ
เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ผู้วิจัยนำผลการทดสอบทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/15 โรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา ก่อนและหลังการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ (Role
play) ผลปรากฏดังตาราง


ตาราง ผลการเปรียบเทียบความสามารถด้านทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 1/15 โรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา ก่อนและหลังการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ (Role
play)

"ความสามารถด้านทักษะการพูด"จำนวน "ค่าเฉลี่ย "ส่วนเบี่ยงเบนมา"t "
"ภาษาอังกฤษ "(n) "( x̅ ) "ตรฐาน (S.D.)" "
"ก่อนการทดลอง "33 "16.48 "3.83 "19.00** "
"หลังการทดลอง "33 "26.12 "2.56 " "


** มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01






จากตาราง แสดงให้เห็นว่า ความสามารถด้านทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/15 โรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา ก่อนใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ (Role play)
สูงกว่าหลังใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ (Role play) โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 26.12
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 2.56 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

สรุปผลการวิจัย

ความสามารถด้านทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/15
โรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา หลังการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ (Role play)
สูงกว่าหลังใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ (Role play) อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01
ดังนั้นการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติในการจัดการเรียนการสอนช่วยให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีความสามารถด
้านทักษะการพูดภาษาอังกฤษสูงขึ้น
















การสะท้อนผล
หลังจากการทำวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/15
โรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ (Role play)
ผู้วิจัยเห็นว่างานวิจัยครั้งนี้ยังมีข้อที่ควรปรับปรุงอยู่หลายประการ ประการแรกคือ
ข้อจำกัดของระยะเวลาในการใช้ในการศึกษาหาข้อมูลพื้นฐานและสาเหตุที่หลากหลายที่ส่งผลให้นักเรียนมีป
ัญหาในด้านทักษะการพูดภาษาอังกฤษ หรือทำให้ทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
รวมถึงระยะเวลาในการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ
ซึ่งการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติมามาเป็นเทคนิคช่วยทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนให้ได้ผลที่แท้จริง
นั้นต้องใช้ระเวลานานพอสมควร เนื่องจาผู้วิจัยเห็นว่าทักษะการพูดภาษาอังกฤษ
เป็นทักษะต้องใช้องค์ประกอบหลายอย่างเข้ามาช่วยเสริมด้วย เพราะเป็นทักษะที่นักเรียนต้องสามารถ
อ่านหรือพูดออกเสียงได้อย่างถูกต้อง สามารถโต้ตอบหรือสนทนาได้เหมาะสมตามสถานการณ์ต่างๆ
ต้องอาศัยการพัฒนาทักษะการฟังไปควบคู่กัน
รวมทั้งต้องอาศัยความรู้ทางด้านโครงสร้างทางภาษาและไวยากรณ์ เข้ามาประกอบในการสร้างคำ
เรียงลำดับคำในรูปประโยคให้ถูกต้องและสื่อความหมายได้
ดังนั้นจึงต้องอาศัยเวลาในการฝึกปฏิบัตินานกว่านี้ รวมทั้งกิจกรรมบทบาทสมมติ (Role play)
ต้องมีรูปแบบที่หลากหลายกว่านี้ มีส่วนช่วยพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน เช่น
ความรับผิดชอบ ความกล้าแสดงออก ความพึงพอใจ การทำงานกลุ่ม ความสามัคคี
และเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ และควรส่งเสริมให้นักเรียนได้ทักษะการคิดสร้างสรรค์
นำเอาความรู้ทางภาษามาสร้างบทสนทนาด้วยตัวเองเพื่อให้นักเรียนเกิดความเข้าใจและสามารถนำไปปร
ับใช้กับชีวิตประจำวันและสถานการณ์ต่างๆด้วยตัวของเขาเองได้ดียิ่งขึ้น

-----------------------

ทักษะการพูดภาษาอังกฤษ




กิจกรรมบทบาทสมมติ (Role Play)
Lihat lebih banyak...

Comentários

Copyright © 2017 DADOSPDF Inc.